ในประโยคหนึ่งๆ ให้แปลไปตามลำดับ ดังนี้
ลำดับใดไม่มีในประโยค ก็ให้ข้ามไป แต่ประธานและกิริยาคุมพากย์ ถ้าไม่มี ต้องเติมเข้ามาแปล
(ยกเว้นประโยคภาววาจก ไม่มีประธาน และประโยคลิงคัตถะ ไม่มีกิริยาคุมพากย์)
ถ้ามีอนภิหิตกัตตา แปลว่า "อัน" ลงในอรรถตติยาวิภัตติ หรือ การิตกัมมะ แปลว่า "ยัง" ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ ของกิริยาใด* ให้แปลก่อนกิริยานั้นเสมอ
(ลงวิภัตติอื่นก็มี เช่น ลงฉัฏฐีวิภัตติ แต่แปลลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า "อัน" เรียกชื่อว่า ฉัฏฐีอนภิหิตกัตตา
ลงฉัฏฐีวิภัตติ แต่แปลลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ แปลว่า "ยัง" เรียกชื่อว่า ฉัฏฐีการิตกัมมะ ฯลฯ)
* อนภิหิตกัตตา การิตกัมมะ มีในกัมมวาจก ภาววาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก
ประโยคแทรก ปรากฏอยู่ส่วนใดของประโยค ก็ให้แปลทันที เช่น ถ้าอยู่ต้นประโยคหลัก ก็แปลได้ทันที ไม่ต้องแปลประธานของประโยคหลักก่อน
คำอธิบายรายละเอียดลำดับการแปลข้างต้นนั้น ดังนี้
1.อาลปนะ คำร้องเรียก มี 2 อย่าง คือ
อาลปนะนาม ถ้ามาพร้อมกับอาลปนะนิบาต 5 ตัวนี้ คือ ภนฺเต ภทนฺเต อาวุโส อมฺโภ ภเณ
ให้แปลอาลปนะนามก่อน แล้วจึงแปลอาลปนะนิบาต เช่น
วเทหิ ตาว อาวุโส ปาลิต.
ดูก่อนปาลิตะ ผู้มีอายุ อ.ท่าน จงกล่าว ก่อน. (ธบ1/จักขุบาล)
อาลปนะนาม ถ้ามาพร้อมกับอาลปนะนิบาต 5 ตัวนี้ คือ ยคฺเฆ เร อเร เห เช ให้แปลอาลปนะนิบาตก่อน เช่น
อเร ขุชฺเช อติพหโลฏฺฐกโปลํ เต มุขํ. (ธบ2/สามาวตี)
เฮ้ย แน่ะหญิงค่อม อ.ปาก ของเจ้า มีริมฝีปากและกระพุ้งแก้มอันหนายิ่ง.
ถ้ามีอาลปนะนามหลายบท ให้แปลที่อยู่หน้าก่อนเสมอ แล้วแปลอาลปนนามที่เหลือ เป็นบทวิเสสนะ เช่น
อนฺธพาล อหิริก ตฺวํ มยา สทฺธึ วตฺตุํ น ยุตฺตรูโปสิ. (ธบ3/สุปฺปพุทฺธกุฏฺฐิ)
ดูก่อนอันธพาล ผู้ไม่มีความละอาย อ.ท่าน เป็นผู้มีรูปไม่ควรแล้ว เพื่ออันกล่าว กับ ด้วยเรา ย่อมเป็น.
อาลปนะนามที่กล่าวถึง ชื่อ แซ่, โคตร สกุล ให้แปลก่อนเสมอ แล้วแปลอาลปนนามหรืออาลปนนิบาตอื่นๆ เป็นบทวิเสสนะ เช่น
ชูตกมฺเมน โภ โคตม ชีวามิ.
ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ อ.ข้าพระองค์ ย่อมเป็นอยู่ ด้วยการเล่นสะกา. (4/อนตฺถปุจฺฉกพฺราหฺมณ)
อิงฺฆ ปสฺส มหาปญฺญ มหาโมคฺคลฺลาน มหิทฺธิก. (ธบ8/อุคฺคเสนเสฏฺฐิปุตฺต)
ข้าแต่พระมหาโมคคัลลานะ ผู้มีปัญญามาก ผู้มีฤทธิ์มาก เชิญเถิด อ.ท่าน จงดู.
ภนฺเต ปิณฺโฑลภารทฺวาช.
แน่ะท่านปิณโฑลภารัทวาชะ ผู้เจริญ.
2. นิบาตต้นข้อความ บอกเนื้อความต่างๆ มีดังนี้
กิร ได้ยินว่า, ขลุ สุทํ ได้ยินว่า, หนฺท ตคฺฆ อิงฺฆ เชิญเถิด, อาม เออ เพคะ ขอรับ, อามนฺตา, สเจ ถ้าว่า,เจ หากว่า,อถ ครั้งนี้,ยทิ ยนฺนูน อปฺเปวนาม, หิ จ ปน ก็, อถวา อถโข
3. กาลสัตตมี คือศัพท์ที่ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ หรือ แปลออกสำเนียงสัตตมีวิภัตติได้ และบอกกาลเวลา โดยเฉพาะที่วางไว้ต้นๆ ประโยค
4. บทประธาน คือศัพท์ที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ หรือแปลออกสำเนียงปฐมาวิภัตติได้
5. บทเนื่องด้วยประธาน คือ บทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับตัวประธาน
๑. มหาปญฺโญ ภิกฺขุ ภิกฺขํ ภิกฺขติ = อ.ภิกษุ ผู้มีปัญญามาก ย่อมขอ ซึ่งภิกษา.
๒. ปณฺฑิโต สามเณโร โอวาท คณฺหาติ = อ.สามเณร ผู้ฉลาด ย่อมรับเอา ซึ่งโอวาท.
ต่ถ้าหากว่าเป็นโคตร ยศ หรือตาแหน่งส่วนตัวนัันมักจะวางอยู่ข้างหลังประธาน เช่น
๑. สมโณ โคตโม ธมฺม เทเสติ = อ.พระสมณะ ผู้โคดม ย่อมทรงแสดง ซึ่งธรรม.
๒. วิสาขา มหาอุปาสิกา วิหาร คจฺฉติ = อ.นางวิสาขา ผู้เป็นมหาอุบาสิกา ย่อมไป สู่วิหาร.
6. กิริยาในระหว่าง /บทนามที่มีวิภัตติเดียวกับประธาน/ประโยคแทรกที่เข้ากับประธาน ได้แก่ กิริยากิตก์
อนฺต ตวนฺตุ ตาวี มาน ต 5 ตัวนี้ ต้องมี ลิงค์ วิภัตติ วจนะ เสมอกับประธาน
ตูน ตฺวา ตฺวาน 3 ตัวนี้ ไม่ต้องแจกด้วยวิภัตติ
ก. กิริยาในระหว่าง มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
๑. กิริยาศัพท์ (ธาตุ) ที่ประกอบด้ วย ต, อนฺต มาน ปั จจัย ซึ่ง จะมีลิงค์ วจนะ และวิภัตติ เสมอ
กันกับประธาน เช่น
เถโร วิหาร ปวิสนฺโต ธมฺม วทติ = อ.พระเถระ เข้าไปอยู่ สู่วิหาร ย่อมกล่าว ซึ่งธรรม
สามเณโร ธมฺม สุณนฺโต ปสีทติ = อ.สามเณร ฟังอยู่ ซึ่งธรรม ย่อมเลื่อมใส.
๒. กิริยาศัพท์ (ธาตุ) ที่ประกอบด้วย ตูน, ตฺวา, ตฺวาน ปัจจัย(เฉพาะที่บ่งชี้ว่าเป็นกิริยาอาการ
ของประธานในประโยคนั้นๆ) เช่น
เถโร โอวาท ทตฺวา วิหาร คจฺฉติ = อ.พระเถระ ให้แล้ว ซึ่งโอวาท ย่อมไป สู่วิหาร.
ปุริโส ภตฺต ภุญฺชิตฺวา มุข โธวติ = อ.บุรุษ บริโภคแล้ว ซึ่งภัตร ย่อมล้าง ซึ่งปาก.
ข. บทนามที่มี ลิงค์ -วจนะ-วิภัตติเดียวกันกับประธาน เช่น
ปุริโส ธมฺม สุตฺวา ปพฺพชิตฺวา ลทฺธูปสมฺปโท ปญฺจ วสฺสานิ กมฺมฏฺฐานํ อุคฺคณฺหิ
อ.บุรุษ ฟังแล้ว ซึ่งธรรม บวชแล้ว ผู้มีอุปสมบทอันตนได้แล้ว เรียนเอาแล้ว ซึ่งกัมมัฏฐาน
สิ้นปี ท. ห้า.
ค. ประโยคแทรก คือ ในประโยคที่มีบทนามนาม หรือปุริสสัพพนาม ที่ประกอบด้วย
ฉัฏฐีวิภัตติ (แปลว่า เมื่อ....) หรื อสัตตมีวิภัตติ (แปลว่า ครั้นเมื่ อ....) และมีกิริยากิตก์ ที่ ล ง
อนฺต มาน ต ปัจจัยประกอบด้วยฉัฏฐี วิภัตติหรือสัตตมีวิภัตติตามนามนามนั้นๆ เช่น
ปิตา ภตฺต ภุญฺชนฺโต ปุตฺตสฺส โรทนฺตสฺส ตํ ภตฺตํ เทติ
อ.บิดา บริโภคอยู่ ซึ่งภัตร เมื่อบุตร ร้องไห้อยู่ ย่อมให้ ซึ่งภัตรนั้น .
ภิกฺขุ ธมฺม สุณนฺโต มชฺฌิมยาเม อติกฺกนฺเต คพฺภ ปาวิสิ.
อ.ภิกษุ ฟังอยู่ ซึ่งธรรม ครั้นเมื่อมัชฌิมยาม ล่วงไปแล้ว เข้าไปแล้ว สู่ห้อง.
7. บทเนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง คือ บทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับกิริยาในระหว่าง
๑. เถโร สามเณรสฺส โอวาทํ ทตฺวา วิหารํ ปวิสิตฺวา นิสีทติ
อ.พระเถระ ให้แล้ว ซึ่งโอวาท แก่สามเณร เข้าไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมนั่ง.
๒. มนุสฺสา ภิกฺขูนํ ภิกฺขํ ทตฺวา เต ภิกฺขู วนฺทิตฺวา นิวตฺตึสุ.
อ.มนุษย์ ท. ถวายแล้ว ซึ่งภิกษา แก่ภิกษุ ท. ไหว้แล้ว ซึ่งภิกษุ ท. เหล่านั้น กลับแล้ว.
8. กิริยาคุมพากย์ ได้แก่ กิริยาอาขยาตทั้งหมด และกิริยากิตก์ 3 ตัว คือ ต อนีย ตพฺพ จะมีประเภทใหญ่ๆอยู่ ๓ ประเภท คือ
๑. กิริยาอาขยาตทั้งหมด คือ ธาตุที่ประกอบด้วยปัจจยัในแต่ละวาจกของอาขยาต ซึ่ง
กิริยาอาขยาตนี้ถือว่าเป็นกิริยาคุมพากย์ที่ใหญ่ที่สุดในประโยคนั้นๆ เช่น
เถโร ธมฺมํ สุณาติ = อ.พระเถระ ย่อมฟั ง ซึ่งธรรม. (สุณาติ = สุ+ณา+ติ)
ภิกฺขุ วิหารํ คจฺฉติ = อ.ภิกษุ ย่อมไป สู่วิหาร. (คจฺฉติ = คฺม+อ+ติ)
๒. กิริยากิตก์ ซึ่งมีอยู่เพียง ๓ ตัวคือ ต อนีย ตพฺพ ใช้ คุมพากย์ได้ เช่น
ปุริโส คามํ คโต = อ.บุรุษ ไปแล้ว สู่บ้าน
ปุริเสน กมฺมํ กรณียํ = อ.กรรม อันบุรุษ พึงกระทำ
ปุริเสน กมฺมํ กตฺตพฺพํ = อ.กรรม อันบุรุษ พึงกระทำ
๓. กิริยาบทพิเศษ มีอยู่ ๒ ตัวคือ อลํ (สมควร) สกฺกา (อาจ, สามารถ) เช่น
เอวํ กาตุํ น สกฺกา = อันเรา ไม่อาจ เพื่ออันทำ อย่างนี้
ข้อควรรู้ :-
๑. สำหรับกิริยาคุมพากย์นั้นกิริยาอาขยาตถือว่าใหญ่สุด ซึ่งถ้าหากในประโยค
หนึ่งๆ มีทั้งกิริยากิตก์ที่ประกอบด้วย ต อนีย ตพฺพ ตัวใดตัวหนึ่ง และมีกิริยาอาขยาตด้วย
ในประโยคนั้น ให้เอากิริยาอาขยาตเป็นใหญ่ (คุมพากย์) แล้วเอากิริยากิตก์เป็นวิกติกตฺตา
(กิริยาคุณนาม) แทน หรือแปลเป็นกิริยาธรรมดาทั่วไปของประธาน เช่น
อหํ วิหารํ อาคโตมฺหิ (อาคโต+อมฺหิ) = อ.เรา เป็นผู้มาแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น .
๒. สำหรับกิริยากิตก์ที่ประกอบด้วย ต อนีย ตพฺพ นั้นแม้ จะคุมพากย์ได้ แต่พึงเข้าใจ
ไว้ว่า คุมพากย์ได้ เฉพาะในประโยคที่นามนามทั่วไปเป็นประธานเท่านั้นหากในประโยคใด มี
อมฺหํ (เรา) ศัพท์ หรือ ตุมฺห (ท่าน) ศัพท์ เป็นประธาน แต่กิริยาสุดท้ายเป็นกิริยากิตก์ ใน
ประโยคนั้นนักเรียนจะต้องยกกิริยาอาขยาตเข้ามาเอง ซึ่งโดยส่วนมากจะโยคธาตุว่ามีว่าเป็น
เข้ามา (หุ ธาตุ, ภู ธาตุ, อสฺ ธาตุ เป็นต้น) เป็นกิริยาคุมพากย์แล้วแปลกิริยากิตก์ในประโยคนั้น
เป็นวิกติกัตตาแปลว่า เป็นผู้ ถ้ากิริยานั้นเป็นธาตุที่มีกรรมก็แปลว่า เป็นผู้อัน..... เช่น
อหํ วิหารํ อาคโต (อมฺหิ) = อ.เรา เป็นผู้มาแล้ว สู่วิหาร (ย่อมเป็น).
ตุมฺเห มยา ทิฏฺฐา (โหถ) = อ.ท่าน ท. เป็นผู้อันเราเห็นแล้ว (ย่อมเป็น).
จะเห็นได้ ว่าทั้ง ๒ ประโยคนั้น มีกิริยากิตก์ซึ่งประกอบด้วย ต ปัจจัยอยู่แต่เป็นเพราะประธาน
เป็น อมฺห, ตุมฺห ศัพท์ จึงไม่สามารถทำหน้าที่คุมพากย์ได้ เวลาแปล นักเรียนจึงต้องยกกิริยา
อาขยาตเข้ามาคุมพากย์เอง แล้วแปลกิริยากิตก์นั้นเป็นคล้ายคุณนามไปแทน แต่ถ้านามนาม
ทั่วไปเป็นประธานกิริยากิตก์นั้นๆ ก็ใช้ คุมพากย์ได้ เลย ไม่ต้องยกกิริยาอาขยาตมา เช่น
ปุริโส คามํ คโต = อ.บุรุษ ไปแล้ว สู่บ้าน.
ภิกฺขู วิหารํ อาคตา = อ.ภิกษุ ท. มาแล้ว สู่วิหาร.
๓. สำหรับประโยคที่มี สกฺกา คุมพากย์นั้นมีวิธีสังเกตวาจก ดั้งนี้
- ถ้าในประโยค สกฺกา นั้น มีประธาน ประโยคนั้นเป็นกัมมวาจก เช่น
น สกฺกา ธมฺโม อคารมชฺเฌ ปูเรตุํ
อ.ธรรม (อันบุคคล) ไม่อาจ เพื่ออันให้เต็ม ในท่ามกลางแห่งเรือน
- ถ้าในประโยค สกฺกา นั้น ไม่มีประธาน ประโยคนั้นเป็น ภาววาจก เช่น
(มยา) เอวํ กาตุํ น สกฺกา
(อันเรา) ไม่อาจ เพื่ออันทำ อย่างนี้
(อมฺเหหิ) เอวํ เปเสตุํ น สกฺกา
(อันเรา ท.) ไม่อาจ เพื่ออันส่งไป อย่างนี้
(กิริยากิตก์ หรื อ กิริยาอาขยาต ที่เข้าสมาสแล้วนั้นจัดเป็นนามนามหรือคุณนาม เช่่น ทิฏฺฐปุพฺโพ
วยปฺปตฺโต นตฺถิปูโว ซึ่งจะใช้เป็นกิริยาในระหว่าง หรือกิริยาคุม พากย์ไม่ได้ )
9. บทเนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์ บทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับกิริยาคุมพากย์
(กิริยากิตก์ หรือ กิริยาอาขยาต ที่เข้าสมาสแล้ว จัดเป็นนามนามหรือคุณนาม เช่น ทิฏฺฐปุพฺโพ วยปฺปตฺโต นตฺถิปูโว ใช้เป็นกิริยาในระหว่าง หรือกิริยาคุมพากย์ไม่ได้)
สตฺถา ภิกฺขูนํ ธมฺมํ เทเสติ = อ.พระศาสดา ย่อมแสดง ซึ่งธรรม แก่ภิกษุ ท.
เถโร สามเณรสฺส จีวรํ
เทติ = อ.พระเถระ ย่อมให้ ซึ่งจีวร แก่สามเณร.