ตัทธิต

ความหมาย

ประเภท

1. สามัญญตัทธิต

  1. โคตตตัทธิต
  2. ตรัตยาทิตัทธิต
  3. ราคาทิตัทธิต
  4. ชาตาทิตัทธิต
  5. สมุหตัทธิต
  1. ฐานตัทธิต
  2. พหุลตัทธิต
  3. เสฏฐตัทธิต
  4. ตทัสสัตถิตัทธิต
  1. ปกติตัทธิต
  2. สังขยาตัทธิต
  3. ปูรณตัทธิต
  4. วิภาคตัทธิต

2. ภาวตัทธิต
3. อัพยยตัทธิต

ชีทประกอบการศึกษา: รูปวิเคราะห์ตัทธิต


 

ตัทธิต หมายถึง ปัจจัยประเภทหนึ่ง ใช้ลงท้ายนามศัพท์หรืออัพยยศัพท์ เพื่อแทนเนื้อความของศัพท์อื่น
ทั้งเป็นการย่อศัพท์ให้สั้นลง และหมายถึงศัพท์ที่ลงปัจจัยตัทธิตนั้นๆ ด้วย
(แบบ: ปัจจัยหมู่หนึ่ง เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เนื้อความย่อ สำหรับใช้แทนศัพท์ ย่อคำพูดลงให้สั้น ชื่อว่า ตัทธิต)

สหาย
(สหาย/เพื่อน)
+ ตา
(แทน ภาว ศัพท์)
+ สิ
 
=  สหายตา (ความเป็นแห่งสหาย/เพื่อน)
นามศัพท์/อัพยยศัพท์   ปัจจัยตัทธิต   วิภัตตินาม*  

* ถ้าลงปัจจัยตัทธิตที่เป็นอัพยยะ ก็ไม่ต้องลงวิภัตตินาม

 

เปรียบเทียบสมาส-ตัทธิต           

สมาส: สหายสฺส  ภาโว  สหายภาโว ความเป็นแห่งสหาย
ตัทธิต: สหายสฺส  ภาโว  สหายตา 
(ใช้ ตา ปัจจัย แทน ภาว ศัพท์)


เปรียบเทียบสมาส-สนธิ-ตัทธิต-นามกิตก์

สมาส สนธิ ตัทธิต นามกิตก์
    "ตัทธิต" เป็นชื่อของปัจจัยตัทธิต
และศัพท์ที่ลงปัจจัยตัทธิต
"(นาม)กิตก์" เป็นชื่อของปัจจัย(นาม)กิตก์
และศัพท์ที่ลงปัจจัย(นาม)กิตก์
ต่อศัพท์ (ทุกประเภท
ยกเว้นอาขยาต*)
ต่ออักขระของศัพท์ ลงปัจจัยท้าย นามศัพท์ บ้าง
อัพยยศัพท์ บ้าง
เพื่อแทนศัพท์ต่างๆ
ลงปัจจัยท้าย ธาตุ
แสดงหน้าที่ (สาธนะ) ของคำ
คำที่ต่อมีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน คำที่ต่อไม่จำเป็นต้องมีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน**    
เกิดเป็นคำใหม่ ไม่เกิดเป็นคำใหม่ เกิดเป็นคำใหม่ เกิดเป็นคำใหม่
สำเร็จเป็นนามนาม คุณนาม - สำเร็จเป็นนามนาม คุณนาม อัพยยศัพท์ สำเร็จเป็นนามนาม คุณนาม
เข้าสมาสแล้ว ทำสนธิได้อีก การแปลต้องตัดบท (ปทจฺเฉท)
คือแยกศัพท์ออก ก่อนแปล
   

* อตฺถิ นตฺถิ ในบทสมาส  เช่น อตฺถิภาโว นตฺถิภาโว  ถือเป็นนิบาต
** คือไม่ต้องคำนึงถึงว่าศัพท์ที่นำมาต่อ มีความหมายเกี่ยวเนื่องกันหรือไม่
 

ตัทธิตว่าโดยย่อ มี 3 อย่าง (จัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท) คือ

  1. สามัญญตัทธิต
  2. ภาวตัทธิต
  3. อัพยยตัทธิต

 

1. สามัญญตัทธิต  แบ่งออกเป็น 13  คือ
1) โคตตตัทธิต แทน อปจฺจ โคตฺต ปุตฺต ศัพท์ มีปัจจัย 8 ตัว คือ ณ ณายน ณาน เณยฺย  ณิ ณิก ณว เณร (ณฺย)
2) ตรัตยาทิตัทธิต แทน ตรติ ศัพท์เป็นต้น มีปัจจัย 1 ตัว คือ ณิก
3) ราคาทิตัทธิต แทน รตฺต ศัพท์เป็นต้น มีปัจจัย 1 ตัว คือ
4) ชาตาทิตัทธิต แทน ชาต ศัพท์เป็นต้น มีปัจจัย 3 ตัว คือ อิม  อิย  กิย
5) สมุหตัทธิต แทน สมุห ศัพท์ มีปัจจัย 3 ตัว คือ กณฺ  ณ  ตา  (อีย เอยฺย)
6) ฐานตัทธิต แทน ฐาน ศัพท์ มีปัจจัย 1 ตัว คือ อีย
7) พหุลตัทธิต แทน ปกติ พหุล ศัพท์ มีปัจจัย 1 ตัว คือ อาลุ
8) เสฏฐตัทธิต เป็นเครื่องหมายคุณนามขั้น วิเสส อติวิเสส มีปัจจัย 5 ตัว คือ ตร ตม อิยิสฺสก อิย อิฏฺฐ
9) ตทัสสัตถิตัทธิต แทน อตฺถิ ศัพท์ มีปัจจัย 9 ตัว คือ วี ส สี อิก อี  ร วนฺตุ มนฺตุ ณ  (อิมนฺตุ)
10) ปกติตัทธิต แทน ปกต วิการ ศัพท์ มีปัจจัย 1 ตัว คือ มย
11) สังขยาตัทธิต แทน ปริมาณ ศัพท์ มีปัจจัย 1 ตัว คือ ก  (ตฺตก อาวตก)
12) ปูรณตัทธิต แทน ปูรณ ศัพท์ มีปัจจัย 5 ตัว คือ ติย  ฐ  ถ  ม  อี
13) วิภาคตัทธิต แทน วิภาค ศัพท์ มีปัจจัย 2 ตัว คือ ธา  โส
       
2. ภาวตัทธิต แทน ภาว ศัพท์ มีปัจจัย 6 ตัว คือ ตฺต  ณฺย  ตฺตน  ตา  ณ  กณฺ  (กณฺ ณิย เณยฺย พฺย)
3. อัพยยตัทธิต แทน ปการ ศัพท์ มีปัจจัย 2 ตัว คือ ถา  ถํ  (กฺขตฺตุํ)

ในคัมภีร์ไวยากรณ์ทั้งหลาย กล่าวว่าสามัญญตัทธิต มี 15   โดยเพิ่ม อุปมาตัทธิต และ นิสสิตตัทธิต เข้ามา

 

1. สามัญญตัทธิต

1) โคตตตัทธิต มีปัจจัย 8 ตัว คือ  ณ ณายน ณาน เณยฺย  ณิ ณิก ณว เณร 
ใช้แทน อปจฺจํ โคตฺตํ (เหล่ากอ, เชื้อสาย, ลูก, ลูกหลาน, วงศ์, โคตร) และ ปุตฺโต (บุตร) 

ศัพท์เดิม วิเคราะห์ ศัพท์ตัทธิต คำแปล
วสิฏฺโฐ วสิฏฺฐสฺส อปจฺจํ วาสิฏฺโฐ วาสิฏฺฐี เหล่ากอแห่งวสิฏฐะ
โคตโม โคตมสฺส อปจฺจํ โคตโม โคตมี เหล่ากอแห่งโคตมะ
วสุเทโว วสุเทวสฺส อปจฺจํ วาสุเทโว วาสุเทวี เหล่ากอแห่งวสุเทวะ
เวสามิตฺโต เวสามิตฺตสฺส ปุตฺโต เวสามิตฺโต บุตรแห่งเวสามิตตะ
ภารทฺวาโช ภารทฺวาชสฺส อปจฺจํ ภารทฺวาโช เหล่ากอแห่งภารัทวาชะ
มนุ* มนุโน อปจฺจํ มานุโส เหล่ากอของพระมนู; คน, มนุษย์. (สฺ อาคม)
* มนู คือ พระเจ้าผู้สร้างมนุษย์
       
ณายน
กจฺโจ กจฺจสฺส อปจฺจํ กจฺจายโน เหล่ากอแห่งกัจจะ
วจฺโฉ วจฺฉสฺส อปจฺจํ วจฺฉายโน เหล่ากอแห่งวัจฉะ
โมคฺคลฺลี (อิต.) โมคฺคลฺลิยา อปจฺจํ โมคฺคลฺลายโน เหล่ากอแห่งนางโมคคัลลี
ณาน
กจฺโจ กจฺจสฺส อปจฺจํ กจฺจาโน เหล่ากอแห่งกัจจะ
วจฺโฉ วจฺฉสฺส อปจฺจํ วจฺฉาโน เหล่ากอแห่งวัจฉะ
โมคฺคลฺลี (อิต.) โมคฺคลฺลิยา อปจฺจํ โมคฺคลฺลาโน เหล่ากอแห่งนางโมคคัลลี
เณยฺย
ภคินี (อิต.) ภคินิยา อปจฺจํ ภาคิเนยฺโย ภาคิเนยฺยา เหล่ากอแห่งพี่น้องหญิง, หลานชาย หลานสาว
วินตา วินตาย อปจฺจํ เวนเตยฺโย เหล่ากอแห่งนางวินตา
โรหิณี (อิต.) โรหิณิยา อปจฺจํ โรหิเณยฺโย เหล่ากอแห่งนางโรหิณี
กตฺติกา (อิต.) กตฺติกาย ปุตฺโต กตฺติเกยฺโย บุตรแห่งนางกัตติกา
นที (อิต.) นทิยา ปุตฺโต นาเทยฺโย บุตรแห่งแม่น้ำ
คงฺคา คงฺคาย อปจฺจํ คงฺเคยฺโย เหล่ากอแห่งแม่น้ำคงคา
สุจิ สุจิยา ปุตฺโต โสเจยฺโย บุตรแห่งคนสะอาด
ณิ
ทกฺโข ทกฺขสฺส อปจฺจํ ทกฺขิ เหล่ากอแห่งทักขะ
วสโว วสวสฺส อปจฺจํ วาสวิ เหล่ากอแห่งวสวะ
วรุโณ วรุณสฺส อปจฺจํ วารุณิ เหล่ากอแห่งวรุณะ
ณิก
สกฺยปุตฺโต สกฺยปุตฺตสฺส อปจฺจํ สกฺยปุตฺติโก เหล่ากอแห่งสักยบุตร
นาฏปุตฺโต นาฏปุตฺตสฺส อปจฺจํ นาฏปุตฺติโก เหล่ากอแห่งบุตรแห่งชนรำ/นักฟ้อน
ชินทตฺโต ชินทตฺตสฺส อปจฺจํ เชนทตฺติโก เหล่ากอแห่งชินทัตตะ
ณว
อุปกุ อุปกุสฺส อปจฺจํ โอปกโว เหล่ากอแห่งอุปกุ
มนุ มนุโน อปจฺจํ มานโว เหล่ากอแห่งมนุ
ภคฺคุ ภคฺคุโน อปจฺจํ ภคฺคโว เหล่ากอแห่งภัคคุ
เณร
วิธวา วิธวาย อปจฺจํ เวธเวโร เหล่ากอแห่งแม่หม้าย
สมโณ สมณสฺส อปจฺจํ สามเณโร เหล่ากอแห่งสมณะ, สามเณร
ณฺย
กุณฺฑนี กุณฺฑนิยา ปุตฺโต  โกณฺฑญฺโญ บุตรแห่งนางกุณฑนี
กุรุ กุรุโน ปุตฺโต โกรพฺโย พระโอรสแห่งพระเจ้ากุรุ
ภาตา ภาตุโน ปุตฺโต ภาตพฺโย บุตรแห่งพี่น้องชาย
อทิติ อทิติยา ปุตฺโต อาทิจฺโจ บุตรแห่งพระอทิติ

 

2) ตรัตยาทิตัทธิต    ลง ณิก ปัจจัย  ใช้แทน ตรติ (ย่อมข้าม) เป็นต้น

ณิก
นาวา นาวาย ตรตีติ นาวิโก ผู้ข้าม(ฝั่ง)ด้วยเรือ
ติลํ ติเลหิ สํสฏฺฐํ เตลิกํ (โภชนํ) อันระคนแล้วด้วยงา
สกฏํ สกเฏน จรตีติ สากฏิโก ผู้เที่ยวไปด้วยเกวียน
กาโย กาเยน กตํ กายิกํ (กมฺมํ) อันเขาทำแล้วด้วยกาย
  กาเย วตฺตตีติ กายิกํ (กมฺมํ) อันเป็นไปในกาย
ปญฺจสตานิ ปญฺจสเตหิ กตา ปญฺจสติกา (สงฺคีติ) (สังคายนา) อันพระเถระ 500 ทำแล้ว
อกฺโข อกฺเขน ทิพฺพตีติ อกฺขิโก ผู้เล่นด้วยสะกา, นักเล่นสะกา
ธมฺโม ธมฺเมน ปวตฺตตีติ ธมฺมิโก ผู้เป็นไปด้วยธรรม
ปรทาโร ปรทารํ คจฺฉตีติ ปารทาริโก ผู้ถึงซึ่งภรรยาของคนอื่น
อภิธมฺโม อภิธมฺมํ อธิเตติ อาภิธมฺมิโก ผู้เล่าเรียนซึ่งพระอภิธรรม
สรีร สรีเร สนฺนิธานา สารีริกา (เวทนา) (เวทนา) อันนับเนื่องในสรีระ
    สารีริกํ (ทุกฺขํ), สารีริกา (ธาตุ)
มโน/มนํ มนสิ สนฺนิธานา มานสิกา (เวทนา) (เวทนา) อันนับเนื่องในใจ
    มานสิกํ (กมฺมํ)  
ทฺวารํ ทฺวาเร นิยุตฺโต โทวาริโก ผู้ประกอบแล้วในประตู, คนเฝ้าประตู (ลง โอ อาคม)
ภณฺฑาคาโร ภณฺฑาคาเร นิยุตฺโต ภณฺฑาคาริโก ผู้ประกอบแล้วในภัณฑาคาร
อาทิกมฺมํ อาทิกมฺเม นิยุตฺโต อาทิกมฺมิโก ผู้ประกอบแล้วในอาทิกรรม (กรรมอันเป็นเบื้องต้น)
จิตฺตํ เจตสิ นิยุตฺตา เจตสิกา (ธมฺมา) (ธรรม ท.) อันประกอบแล้วในจิต
  เจตสา กตํ กมฺมํ เจตสิกํ อันทำแล้วทางจิต
  เจตสิ สํวตฺตตีติ เจตสิกํ อันเป็นไปในจิต
  เจตสิ ภวํ เจตสิกํ อันมีในจิต
วีณา วีณา อสฺส สิปฺปํ เวณิโก ผู้มีพิณเป็นศิลปะ, นักดีดพิณ
คนฺโธ คนฺโธ อสฺส ภณฺฑํ คนฺธิโก ผู้มีของหอมเป็นสินค้า, พ่อค้าของหอม
สกุโณ สกุเณ หนฺตวา ชีวตีติ สากุณิโก ผู้ฆ่าซึ่งนกเป็นอยู่, ผู้ฆ่านกเลี้ยงชีวิต, พรานนก
ปํสุกูลํ ปํสุกูลํ ธาเรตีติ ปํสุกูลิโก ผู้ทรงซึ่งผ้าบังสุกุล
พฬิโส พฬิเสน มจฺเฉ หนตีติ พาฬิสิโก ผู้ฆ่าซึ่งปลาด้วยเบ็ด; พรานเบ็ด
พลิโส พฬิเสน มจฺเฉ คณฺหาตีติ พาลิสิโก ผู้จับซึ่งปลาด้วยเบ็ด; พรานเบ็ด
อรญฺญํ อรญฺเญ วสตีติ อารญฺญิโก ผู้อยู่ในป่า
อรญฺญวสนํ อรญฺญวสนํ สีลมสฺสาติ อารญฺญิโก ผู้มีการอยู่ในป่าเป็นปกติ
สนฺทิฏฺฐํ สนฺทิฏฺฐํ อรหตีติ สนฺทิฏฺฐิโก (ธมฺโม) อันควรซึ่งการเห็นเอง
สงฺโฆ สงฺฆสฺส สนฺตกํ สงฺฆิกํ (วตฺถุ) อันเป็นของมีอยู่แห่งสงฆ์; สมบัติของสงฆ์; ของสงฆ์
    สงฺฆิโก (อาวาโส)  
    สงฺฆิกา (ภูมิ)  
มคโธ มคเธ ชาโต มาคธิโก ผู้เกิดในแคว้นมคธ, ชาวแคว้นมคธ
ราชคหํ ราชคเห ชาโต ราชคหิโก ผู้เกิดแล้วในเมืองราชคฤห์
  ราชคเห วสตีติ ราชคหิโก ผู้อยู่ในเมืองราชคฤห์, ชาวเมืองราชคฤห์
นครํ นคเร วสตีติ นาคริโก ผู้อยู่ในเมือง
ปิตา ปิติโต อาคโต เปตฺติโก ผู้มาแล้วข้างบิดา; ฝ่ายพ่อ (ซ้อน ตฺ)
  ปิตุโน สนฺตกํ เปตฺติกํ (ธนํ) อันเป็นของบิดา (ซ้อน ตฺ)
ปสาโท/ปสาทํ ปสาทํ ชเนตีติ ปาสาทิโก ผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิด; น่าเลื่อมใส
จตุภูมิ จตุภูมีสุ วตฺตนฺตีติ จตุภูมิกา (ธมฺมา) (ธรรม) อันเป็นไปในภูมิ 4
สุสานํ สุสาเน วสตีติ โสสานิโก (ภิกฺขุ) (ภิกษุ) ผู้อยู่ในป่าช้า
  สุสาเน วสนํ สีลมสฺสาติ โสสานิโก (ภิกฺขุ) (ภิกษุ) ผู้มีการอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ
  สุสาเน วสนสีโล(ติ) โสสานิโก (ภิกฺขุ) (ภิกษุ) ผู้มีการอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ
สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาทิฏฺฐิยา นิยุตฺโต สมฺมาทิฏฺฐิโก ผู้ประกอบด้วยความเห็นชอบ
อปาโย อปาเย นิพฺพตฺโต อาปายิโก (เทวทตฺโต) (พระเทวทัต) ผู้เกิดแล้วในอบาย
รุกฺขมูลํ รุกฺขมูเล วสนฺตีติ รุกฺขมูลิกา (ภิกฺขู)    ผู้อยู่ที่โคนต้นไม้, ผู้อยู่โคนไม้
อุโปสถ อุโปสถํ สมาทิยตีติ อุโปสถิโก ผู้สมาทานซึ่งอุโบสถ
อทฺธา อทฺธานํ ปฏิปชฺชตีติ อทฺธิโก ผู้เดินทางสู่ทางไกล, คนเดินทางไกล
มหากรุณา มหากรุณาย นิยุตฺโต มหาการุณิโก ผู้ประกอบด้วยกรุณาใหญ่
 
ณิก ที่ลงในอรรถสกัตถะ (ความหมายเดิมของตน)
สสงฺขาโร สสงฺขาโร เอว สสงฺขาริกํ (สสังขารนั่นเอง ชื่อ) สสังขาริก
จาตุมฺมหาราชา จาตุมฺมหาราชาโน เอว จาตุมฺมหาราชิกา (จาตุมมหาราชนั่นเอง ชื่อ) จาตุมมหาราชิกา

 

3) ราคาทิตัทธิต   ลง ปัจจัย   ใช้แทน รตฺต (ย้อมแล้ว) เป็นต้น

 

กสาโว กสาเวน รตฺตํ กาสาวํ (วตฺถํ) (ผ้า) อันบุคคลย้อมแล้วด้วยรสฝาด
กสาโย กสาเยน รตฺตํ กาสายํ (วตฺถํ) (ผ้า) อันบุคคลย้อมแล้วด้วยรสฝาด
หลิทฺทา หลิทฺที หลิทฺทิยา รตฺตํ หาลิทฺทํ (วตฺถํ) (ผ้า) อันบุคคลย้อมแล้วด้วยขมิ้น
มหิโส มหิสสฺส อิทํ มาหิสํ (มํสํ) (เนื้อ) นี้ของกระบือ, เนื้อนี้ของกระบือ, เนื้อกระบือ
สูกโร สูกรสฺส อิทํ สูกรํ (มํสํ) (เนื้อ) นี้ของสุกร, เนื้อนี้ของสุกร, เนื้อสุกร
กจฺจายโน กจฺจายนสฺส อิทํ กจฺจายนํ (เวยฺยากรณํ) (ไวยากรณ์) นี้ของอาจารย์กัจจายนะ
วฺยากรณํ วฺยากรณํ อธิเตติ เวยฺยากรโณ ผู้เรียนซึ่งพยากรณ์ (ลง เอ อาคม, ซ้อน ยฺ)
มโน มนํ มนสิ ภวํ มานสํ (สุขํ) มีในใจ (ลง สฺ อาคม)
อุโร อุรํ
อุรสิ ภโว โอรโส (ปุตฺโต) มีในอก (ลง สฺ อาคม)
  อุรสิ ชาโต โอรโส (ปุตฺโต) เกิดแล้วในอก
มิตฺโต มิตฺเต ภวา เมตฺตา (ธมฺมชาติ) มีในมิตร
นครํ นคเร วสนฺตีติ นาครา (ชนา) ผู้อยู่ในเมือง
ราชคหํ ราชคเห ชาโต ราชคโห ผู้เกิดแล้วในเมืองราชคฤห์
มคโธ มคเธ ชาโต มาคโธ ผู้เกิดแล้วในแคว้นมคธ
  มคเธ วสตีติ มาคโธ ผู้อยู่ในแคว้นมคธ
  มคเธ อิสฺสโร มาคโธ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ
อรญฺญํ อรญฺเญ วสตีติ อารญฺญโก ผู้อยู่ในป่า  (ก ปัจจัย สกัตถะ)
ปโย ปยสา นิพฺพตฺตํ ปายาโส (โอทโน) อันเกิดแล้วจากน้ำนม (ลง สฺ อาคม, ทีฆะ อ ที่ ย เป็น อา)
กตฺติกา กตฺติกาย นิยุตฺโต กตฺติโก (มาโส) (เดือน) อันประกอบแล้วด้วยฤกษ์กัตติกา
ชนปโท ชนปเท วสนฺตีติ ชานปทา (ภิกฺขู) ผู้อยู่ในชนบท
เตปิฏกํ เตปิฏกํ ธาเรตีติ เตปิฏโก ผู้ทรงไว้ซึ่งปิฎก 3
คพฺโภ คพฺเภ นิพฺพตฺโต คพฺโภ (สตฺโต) ผู้เกิดแล้วในครรภ์; เด็กในท้อง
       

 

4) ชาตาทิตัทธิต   ลงปัจจัย 3 ตัว คือ  อิม  อิย  กิย  ใช้แทน ชาต (เกิดแล้ว) เป็นต้น

อิม
อุปริ (นิ.) อุปริ ชาโต อุปริโม ผู้เกิดแล้วในเบื้องบน
  อุปริ ภโว อุปริโม มีในเบื้องบน
  อุปริ ภวา อุปริมา (ทิสา) ทิศมีในเบื้องบน, ทิศเบื้องบน
เหฏฺฐา (นิ.) เหฏฺฐา ชาโต เหฏฺฐิโม ผู้เกิดแล้วในภายใต้/ภายหลัง
  เหฏฺฐา ภโว เหฏฺฐิโม มีในเบื้องต่ำ
ปุร ปุเร ชาโต ปุริโม ผู้เกิดแล้วในกาลก่อน
  ปุเร ภโว ปุริโม มีในก่อน
มชฺฌํ มชฺเฌ ชาโต มชฺฌิโม ผู้เกิดแล้วในท่ามกลาง
ปจฺฉา (นิ.) ปจฺฉา ชาโต ปจฺฉิโม ผู้เกิดแล้วในภายหลัง
ปจฺจนฺโต ปจฺจนฺเต ภโว ปจฺจนฺติโม (ปเทโส) มีในที่สุดเฉพาะ, ประเทศชายแดน
อนฺโต อนฺเต ภวํ อนฺติมํ (วตฺถุ) มีในที่สุด
  อนฺเต นิยุตฺโต อนฺติโม ผู้ประกอบในที่สุด, คนสุดท้าย
ปุตฺโต ปุตฺโต อสฺส อตฺถีติ ปุตฺติโม มีบุตร
อิย
มนุสฺสชาติ (อิต.) มนุสฺสชาติยา ชาโต มนุสฺสชาติโย ผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งมนุษย์
อสฺสชาติ (อิต.) อสฺสชาติยา ชาโต อสฺสชาติโย ผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งม้า
ปณฺฑิตชาติ (อิต.) ปณฺฑิตชาติยา ชาโต ปณฺฑิตชาติโย ผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งบัณฑิต
  ปณฺฑิตชาติ อสฺส อตฺถีติ ปณฺฑิตชาติโย มีชาติแห่งบัณฑิต
ปญฺจวคฺโค ปญฺจวคฺเค ภวา ปญฺจวคฺคิยา (ชนา) มีในพวก 5, ปัญจวัคคีย์
ฉพฺพคฺโค ฉพฺพคฺเค ภวา ฉพฺพคฺคิยา (ชนา) มีในพวก 6, ฉัพพัคคีย์
อุทรํ อุทเร ภวํ อุทริยํ (อาหารวตฺถุ) มีในท้อง; อาหารใหม่
อตฺตา อตฺตโน อิทนฺติ อตฺตนิยํ อันเป็นของแห่งตน (นฺ อาคม)
  อตฺตนิ ชาโต อตฺตนิโย เกิดแล้วในตน  (นฺ อาคม)
หานภาโค หานภาโค อสฺส อตฺถีติ หานภาคิโย (ธมฺโม) มีส่วนแห่งความเสื่อม
  หานภาเค สํวตฺตตีติ หานภาคิโย (ธมฺโม) เป็นไปในส่วนอันเสื่อม
กิย
อนฺธ อนฺเธ นิยุตฺโต อนฺธกิโย ผู้ประกอบแล้วในที่มืด/ในความบอด
ชาติ ชาติยา นิยุตฺโต ชาติกิโย ผู้ประกอบแล้วด้วยชาติ
(ย)
ในคัมภีร์ไวยากรณ์  ในเนื้อความของ สาธุ หิต ภว และ ชาต เป็นต้น  ลง ปัจจัยได้ด้วย
กมฺมํ กมฺมนิ สาธุ กมฺมญฺญํ ควรในการงาน (กมฺมนิ+ย ลบ อิ, แปลง นฺย เป็น ญฺญ)
เมธา เมธาย หิตํ เมชฺฌํ เกื้อกูลแก่ปัญญา (ลบ อา, แปลง ธฺย เป็น ชฺฌ)
ถนํ ถนโต ชาตํ ถญฺญํ อันเกิดจาก(เต้า)นม, (น้ำ)นม (แปลง นฺย เป็น ญฺญ)
ธนํ ธนาย สํวตฺตตีติ ธญฺญํ อันเป็นไปเพื่อทรัพย์, ข้าวเปลือก (แปลง นฺย เป็น ญฺญ)
       

 

5) สมุหตัทธิต   ลงปัจจัย 3 ตัว คือ  กณฺ  ณ  ตา   ใช้แทน สมุห ศัพท์ (ประชุม, หมู่, ฝูง ฯลฯ) 

กณฺ
มนุสฺโส มนุสฺสานํ สมุโห มานุสฺสโก ประชุมแห่งมนุษย์, หมู่แห่งมนุษย์
มานุโส มานุสานํ สมุโห มานุสโก ประชุมแห่งคน/มนุษย์, หมู่แห่งคน/มนุษย์
ปุริโส ปุริสานํ สมุโห โปริสโก ประชุมแห่งบุรุษ
ราชปุตฺโต ราชปุตฺตานํ สมุโห ราชปุตฺตโก ประชุมแห่งพระราชโอรส
มยุโร มยุรานํ สมุโห มายุรโก หมู่/ฝูงแห่งนกยูง
กโปโต กโปตานํ สมุโห กาโปตโก ประชุม/ฝูงแห่งนกพิราบ
มนุสฺโส มนุสฺสานํ สมุโห มานุโส ประชุมแห่งมนุษย์ (ลบ สฺ?)
มยุโร มยุรานํ สมุโห มายุโร หมู่แห่งนกยูง
กโปโต กโปตานํ สมุโห กาโปโต ประชุมแห่งนกพิราบ
ปุริโส ปุริสานํ สมุโห โปริโส ประชุมแห่งบุรุษ
ทฺวิ ทฺวินฺนํ สมุโห ทฺวยํ ประชุม/หมวด (แห่งวัตถุ) สอง  (แปลง อิ เป็น อย)
ติ ติณฺณํ สมุโห ตยํ ประชุม/หมวด (แห่งวัตถุ) สาม  (แปลง อิ เป็น อย)
ติปิฏกํ ติปิฏกสฺส สมูโห เตปิฏกํ ประชุม/หมวด แห่งปิฎกสาม
ตา
คาโม คามานํ สมุโห คามตา ประชุมแห่งชาวบ้าน
ชโน ชนานํ สมุโห ชนตา ประชุมแห่งชน
สหาโย สหายานํ สมุโห สหายตา ประชุมแห่งสหาย
เทโว เทวานํ สมุโห เทวตา ประชุมแห่งเทพ

 

6) ฐานตัทธิต   ลง อีย ปัจจัย   ใช้แทน ฐาน (ที่ตั้ง),  หิต (เกื้อกูล),  อรห (ควร)

อีย
มทนํ มทนสฺส ฐานํ มทนียํ ที่ตั้งแห่งความเมา
พนฺธนํ พนฺธนสฺส ฐานํ พนฺธนียํ ที่ตั้งแห่งความผูก
โมจนํ โมจนสฺส ฐานํ โมจนียํ ที่ตั้งแห่งความแก้/ความหลุดพ้น
รชนํ รชนสฺส ฐานํ รชนียํ ที่ตั้งแห่งความย้อม/ความกำหนัด
ปสาทนํ ปสาทนสฺส ฐานํ ปสาทนียํ ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
(ในสัททนีติ)   อีย แทน หิต (เกื้อกูล)  ภว (มี)
อุปาทาน อุปาทานานํ หิตํ อุปาทานียํ อันเกื้อกูลแก่ความยึดมั่น
อุทรํ อุทเร ภวํ อุทรียํ (โภชนํ) มีในท้อง
อีย-เอยฺย แทน อรห (ควร)
ทสฺสนํ ทสฺสนํ อรหตีติ ทสฺสนีโย ทสฺสนียา ผู้ควรซึ่งการเห็น; น่าดูน่าชม
ปูชนํ ปูชนํ อรหตีติ ปูชนีโย ปูชเนยฺโย ผู้ควรซึ่งการบูชา
ทกฺขิณา ทกฺขิณํ อรหตีติ ทกฺขิเณยฺโย ผู้ควรซึ่งทักษิณา
  ทกฺขิณํ ปฏิคฺคณฺหิตุํ อรหตีติ ทกฺขิเณยฺโย ผู้ควรเพื่ออันรับซึ่งทักษิณา, ผู้ควรรับทักษิณา

 

7) พหุลตัทธิต   ลง อาลุ ปัจจัย   ใช้แทน ปกติ (ปกติ),  พหุล (มาก)

อาลุ
อภิชฺฌา อภิชฺฌา อสฺส ปกติ อภิชฺฌาลุ มีความเพ่งเล็งเป็นปกติ
  อภิชฺฌา อสฺส พหุลา อภิชฺฌาลุ มีความเพ่งเล็งมาก
สีตํ สีตํ อสฺส ปกติ สีตาลุ (ปเทโส) มีความหนาวเป็นปกติ
  สีตํ อสฺส พหุลํ สีตาลุ (ปเทโส) มีความหนาวมาก
ทยา ทยา อสฺส ปกติ ทยาลุ มีความเอ็นดูเป็นปกติ
  ทยา อสฺส พหุลา ทยาลุ มีความเอ็นดูมาก
ธโช ธชา อสฺส พหุลา ธชาลุ (ปาสาโท) มีธงมาก
       

 

8) เสฏฐตัทธิต ลงปัจจัย 5 ตัว คือ  ตร  ตม  อิยิสฺสก  อิย  อิฏฺฐ  เป็นเครื่องหมายคุณนามขั้น วิเสส และ อติวิเสส

ตร
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ ปาปตโร เป็นบาปกว่า
สพฺเพ อิเม หีนา, อยมิเมสํ วิเสเสน หีโนติ หีนตโร เลวกว่า
สพฺเพ อิเม ปณฺฑิตา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปณฺฑิโตติ ปณฺฑิตตโร เป็นบัณฑิตกว่า
สพฺเพ อิเม ปณีตา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปณีโตติ ปณีตตโร ประณีตกว่า
ตม
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปาโปติ ปาปตโม เป็นบาปที่สุด
สพฺเพ อิเม หีนา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน หีโนติ หีนตโม เลวที่สุด
สพฺเพ อิเม ปณฺฑิตา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปณฺฑิโตติ ปณฺฑิตตโม เป็นบัณฑิตที่สุด
สพฺเพ อิเม ปณีตา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปณีโตติ ปณีตตโม ประณีตที่สุด
อิยิสฺสก
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ ปาปิยิสฺสโก เป็นบาปกว่า
อิย
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ ปาปิโย เป็นบาปกว่า
สพฺเพ อิเม อปฺปา, อยมิเมสํ วิเสเสน อปฺโปติ กนิโย น้อยกว่า (แปลง อปฺป เป็น กน)
สพฺเพ อิเม ปสตฺถา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปสตฺโถติ เสยฺโย ประเสริฐกว่า, อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วกว่า
(แปลง ปสตฺถ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ)
สพฺเพ อิเม วุฑฺฒา, อยมิเมสํ วิเสเสน วุฑฺโฒติ เชยฺโย เจริญกว่า (แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ)
อิฏฺฐ
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปาโปติ ปาปิฏฺโฐ เป็นบาปที่สุด
สพฺเพ อิเม อปฺปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน อปฺโปติ กนิฏฺโฐ น้อยที่สุด (แปลง อปฺป เป็น กน)
สพฺเพ อิเม ปสตฺถา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปสตฺโถติ เสฏฺโฐ ประเสริฐที่สุด, อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วที่สุด
    (แปลง ปสตฺถ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ)
สพฺเพ อิเม วุฑฺฒา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน วุฑฺโฒติ เชฏฺโฐ เจริญที่สุด (แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ)
 
ตั้งวิเคราะห์ แบบรวมทั้งวิเสส และ อติวิเสส
   
สพฺเพ  อิเม  ปาปา,  อยมิเมสํ  วิเสเสน  ปาโปติ ปาปตโร  ปาปตโม ชน ท. เหล่านี้ ทั้งปวง เป็นบาป,
ชนนี้ เป็นบาป โดยวิเสส กว่าชน ท. เหล่านี้ 
เหตุนั้น ชนนี้ ชื่อว่า เป็นบาปกว่า เป็นบาปที่สุด
     

 

9) ตทัสสัตถิตัทธิต   ลงปัจจัย 9 ตัว คือ  วี  ส  สี  อิก  อี  ร  วนฺตุ  มนฺตุ  ณ  แทน อตฺถิ (มีอยู่)

วี

(ปุ. -วี,  อิต. -วินี, นปุ. -วิ)

เมธา เมธา อสฺส อตฺถีติ เมธาวี มีเมธา
มายา มายา อสฺส อตฺถีติ มายาวี มีมายา

(เป็นปุงลิงค์อย่างเดียว)

สุเมธา สุเมธา อสฺส อตฺถีติ สุเมธโส มีเมธาดี (รัสสะ อา เป็น อ)
โลโม/โลมํ โลมา อสฺส อตฺถีติ โลมโส มีขน
สี

(ปุ. -สี,  อิต. -สินี, นปุ. -สิ) ใช้กับมโนคณะศัพท์ โดยมาก

ตโป ตโป อสฺส อตฺถีติ ตปสี มีตบะ
เตโช เตโช อสฺส อตฺถีติ เตชสี มีเดช
ยโส ยโส อสฺส อตฺถีติ ยสสี มียศ
อิก

(เป็นปุงลิงค์อย่างเดียว)

ทณฺโฑ ทณฺโฑ อสฺส อตฺถีติ ทณฺฑิโก มีไม้เท้า
อตฺโถ อตฺโถ อสฺส อตฺถีติ อตฺถิโก มีความต้องการ
มาลา มาลา อสฺส อตฺถีติ มาลิโก มีมาลัย, มีระเบียบ(ดอกไม้)
ฉตฺตํ ฉตฺตํ อสฺส อตฺถีติ ฉตฺติโก มีร่ม
กุฏุมฺพํ กุฏุมฺพํ อสฺส อตฺถีติ กุฏุมฺพิโก มีทรัพย์
ปํสุกูลํ ปํสุกูลธารณํ สีลมสฺสาติ ปํสุกูลิโก มีการทรงผ้าบังสุกุลเป็นปกติ
สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาทิฏฺฐิ อสฺส อตฺถีติ สมฺมาทิฏฺฐิโก มีความเห็นชอบ
อี

(ปุ. - ี,   อิต. - ินี)

ทณฺโฑ ทณฺโฑ อสฺส อตฺถีติ ทณฺฑี มีไม้เท้า
สุขํ สุขํ อสฺส อตฺถีติ สุขี มีความสุข
  สุขํ อสฺสา อตฺถีติ สุขินี มีความสุข
โภโค โภโค อสฺส อตฺถีติ โภคี มีโภคะ
ลาโภ ลาโภ อสฺส อตฺถีติ ลาภี มีลาภ
หตฺโถ หตฺโถ อสฺส อตฺถีติ หตฺถี มีมือ, มีงวง; ช้าง
พลํ พลมสฺส อตฺถีติ พลี มีกำลัง
ธมฺโม ธมฺโม อสฺส อตฺถีติ ธมฺมี (กถา) (ถ้อยคำ) มีธรรม
เวรํ เวรํ อสฺส อตฺถีติ เวรี มีเวร
  เวรํ เตสํ อตฺถีติ เวริโน (ชนา) มีเวร
วโส วโส อสฺส อตฺถีติ วสี มีอำนาจ
คพฺโภ คพฺโภ อสฺสา อตฺถีติ คพฺภินี (เทวี) (เทวี) มีครรภ์
ชาลํ ชาลมสฺสา อตฺถีติ ชาลินี (ตณฺหา) (ตัณหา) มีข่าย (แปลง อี เป็น อินี)
ภาโค ภาโค อสฺสา อตฺถีติ ภาคินี (อิตฺถี) มีส่วน  (แปลง อี เป็น อินี)
มธุ มธุ อสฺส อตฺถีติ มธุโร มีน้ำผึ้ง (มีรสหวาน, มีรสอร่อย, อร่อย)
  มธุ อสฺมึ วิชฺชตีติ มธุโร  
มุขํ มุขํ อสฺส อตฺถีติ มุขโร มีปาก (มีปากกล้า- พูดไม่เกรงกลัวใคร)
รุจิ รุจิ อสฺส อตฺถีติ รุจิรํ (ปุปฺผํ) มีความงาม
นโค  นคา อสฺส อตฺถีติ นครํ (ฐานํ) มีปราสาท, เมือง, นคร (รัสสะ อา เป็น อ)
กุญฺโช/กุญฺชา กุญฺชา หนุ อสฺส อตฺถีติ กุญฺชโร (สตฺโต) มีคาง (รัสสะ อา เป็น อ)
วนฺตุ

ลงท้ายศัพท์ที่เป็น อ อา การันต์
(ปุ. -วนฺตุ แจกอย่าง ภควนฺตุ, อิต. -วนฺตี -วตี แจกอย่าง นารี,  นปุ. -วนฺตุ แจกอย่าง ภควนฺตุ เว้น ป. ทุ.)

คุโณ คุโณ อสฺส อตฺถีติ คุณวา [คุณวนฺตุ] มีคุณ (ป. คุณวา, อิต. คุณวตี คุณวนฺตี, นปุ. คุณวํ คุณวนฺตํ)
ธนํ ธนํ อสฺส อตฺถีติ ธนวา [ธนวนฺตุ] มีทรัพย์
ปญฺญา ปญฺญา อสฺส อตฺถีติ ปญฺญวา [ปญฺญวนฺตุ] มีปัญญา
ปุญฺญํ ปุญฺญํ อสฺส อตฺถีติ ปุญฺญวา [ปุญฺญวนฺตุ] มีบุญ
สีลํ สีลํ อสฺส อตฺถีติ สีลวา [สีลวนฺตุ] มีศีล
อุฏฺฐานํ อุฏฺฐานํ อสฺส อตฺถีติ อุฏฺฐานวา [อุฏฺฐานวนฺตุ] มีการลุกขึ้น, มีความขยัน
ภโค ภคา อสฺส อตฺถีติ ภควา [ภควนฺตุ] มีโชค
ภาโค ภาโค อสฺส อตฺถีติ ภาควา [ภาควนฺตุ] มีส่วน
พลํ พลํ อสฺส อตฺถีติ พลวา [พลวนฺตุ] มีกำลัง
  พลํ อสฺสา อตฺถีติ พลวตี [พลวนฺตุ] (ตณฺหา) (ตัณหา) มีกำลัง
มนฺตุ

ลงท้ายศัพท์ที่เป็น อิ อุ การันต์
(ปุ. -มนฺตุ แจกอย่าง ภควนฺตุ, อิต. -มนฺตี -มตี แจกอย่าง นารี,  นปุ. -มนฺตุ แจกอย่าง ภควนฺตุ เว้น ป. ทุ.)

สติ สติ อสฺส อตฺถีติ สติมา [สติมนฺตุ] มีสติ (ป. สติมา, อิต. สติมตี สติมนฺตี, นปุ. สติมํ สติมนฺตํ)
ชุติ ชุติ อสฺส อตฺถีติ ชุติมา [ชุติมนฺตุ] มีความโพลง
อายุ อายุ อสฺส อตฺถีติ อายสฺมา [อายสฺมนฺตุ] มีอายุ (แปลง อุ เป็น อสฺ)
จกฺขุ จกฺขุ อสฺส อตฺถีติ จกฺขุมา [จกฺขุมนฺตุ] มีจักษุ
ธิติ ธิติ  อสฺส  อตฺถีติ ธิติมา [ธิติมนฺตุ] มีปัญญา
อิมนฺตุ
ปุตฺโต ปุตฺโต อสฺส อตฺถีติ ปุตฺติมา [ปุตฺติมนฺตุ] มีบุตร
ปาปํ ปาปํ อสฺส อตฺถีติ ปาปิมา [ปาปิมนฺตุ] (มาโร) มีบาป
สทฺธา สทฺธา อสฺส อตฺถีติ สทฺโธ มีศรัทธา (ปุ. สทฺโธ, อิต. สทฺธา, นปุ. สทฺธํ)
มจฺเฉรํ มจฺเฉรํ อสฺส อตฺถีติ มจฺเฉโร มีความตระหนี่
ปญฺญา ปญฺญา อสฺส อตฺถีติ ปญฺโญ มีปัญญา (ลบ อา)
พุทฺธิ (อิต.) พุทฺธิ อสฺส อตฺถีติ พุทฺโธ มีความรู้ (ลบ อิ)

 

10) ปกติตัทธิต  ลง มย ปัจจัย   ใช้แทน ปกต (อันบุคคลทำแล้ว, สำเร็จแล้ว)  และ วิการ (เป็นวิการ)

มย
สุวณฺณํ สุวณฺเณน ปกตํ สุ-โสวณฺณมยํ (ภาชนํ)* อันบุคคลทำแล้วด้วยทอง, สำเร็จแล้วด้วยทอง
  สุวณฺณสฺส วิกาโร สุ-โสวณฺณมโย (ปาสาโท) อันเป็นวิการแห่งทอง
มตฺติกา มตฺติกาย ปกตํ มตฺติกามยํ (ภาชนํ) อันบุคคลทำแล้วด้วยดิน
  มตฺติกาย วิกาโร มตฺติกามยํ (ภาชนํ) อันเป็นวิการแห่งดิน
อโย อยสา ปกตํ อโยมยํ (ภาชนํ) อันสำเร็จแล้วด้วยเหล็ก
  อยโส วิกาโร อโยมยํ (ภาชนํ) อันเป็นวิการแห่งเหล็ก
ทารุ (นปุ.) ทารุนา ปกตํ ทารุมยํ (วตฺถุ) อันบุคคลทำแล้วด้วยไม้
อิทฺธิ (อิต.) อิทฺธิยา ปกตํ อิทฺธิมยํ (วตฺถุ) อันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์
มโน/มนํ มนสา ปกตา มโนมยา (ธมฺมา) อันสำเร็จแล้วด้วยใจ

* สุวณฺณมยํ ภาชนํ  ปกติตัท.
สุวณฺณมยภาชนํ  วิ. บุพ. กัม.
สุวณฺณ(กต)ภาชนํ  มัชเฌโลป. ตติยาตัป.

11) สังขยาตัทธิต   ลงปัจจัย   ใช้แทน ปริมาณ (ประมาณ, ปริมาณ) ลงท้ายปกติสังขยาตั้งแต่ ทฺวิ

ทฺวิ เทฺว ปริมาณานิ อสฺสาติ ทฺวิกํ ทุกํ (วตฺถุ) มีประมาณ 2
ติ ตีณิ ปริมาณานิ อสฺสาติ ติกํ (วตฺถุ) มีประมาณ 3
ตฺตก
เอต เอตํ ปริมาณมสฺสาติ เอตฺตกํ (วตฺถุ) มีประมาณเท่านี้   (แปลง เอต เป็น เอ)
อาวตก
เอต เอตํ ปริมาณมสฺสาติ เอตฺตาวตกํ (วตฺถุ) มีประมาณเท่านี้   (ซ้อน ตฺ)
       

 

12) ปูรณตัทธิต  ลงปัจจัย 5 ตัว คือ ติย ถ ฐ ม อี ใช้แทน ปูรณ (เป็นที่เต็ม)  ลงท้ายปกติสังขยา ทำให้เป็นปูรณสังขยา

ติย

(ลงท้าย ทฺวิ ติ)

ทฺวิ ทฺวินฺนํ ปูรโณ ทุติโย (ชโน) (ชน) เป็นที่เต็มแห่งชน 2, (ชน) ที่ 2 (แปลง ทฺวิ เป็น ทุ)
  ทฺวินฺนํ ปูรณี ทุติยา (นารี) (นารี) เป็นที่เต็มแห่งนารี 2, (นารี) ที่ 2
  ทฺวินฺนํ ปูรณํ ทุติยํ (กุลํ) (ตระกูล) เป็นที่เต็มแห่งตระกูล 2, (ตระกูล) ที่ 2
ติ ติณฺณํ ปูรโณ ตติโย (ชโน) เป็นที่เต็มแห่งชน 3, ที่ 3 (แปลง ติ เป็น ต) (ตติโย, ตติยา, ตติยํ)

(ลงท้าย จตุ)

จตุ จตุนฺนํ ปูรโณ จตุตฺโถ (ชโน) เป็นที่เต็มแห่งชน 4, ที่ 4 (ซ้อน ตฺ) (จตุตฺโถ, จตุตฺถี, จตุตฺถํ)

(ลงท้าย ฉ)

ฉนฺนํ ปูรโณ ฉฏฺโฐ (ชโน) เป็นที่เต็มแห่งชน 6, ที่ 6 (ซ้อน ฏฺ) (ฉฏฺโฐ, ฉฏฺฐี, ฉฏฺฐํ)

(ลงท้ายปกติสังขยาได้ทั่วไป ยกเว้นจำนวน 2, 3, 4, 6)

ปญฺจ ปญฺจนฺนํ ปูรโณ  ปญฺจโม (ชโน)  เป็นที่เต็มแห่งชน 5, ที่ 5  (ปญฺจโม, ปญฺจมี ปญฺจมา, ปญฺจมํ)
สตฺต สตฺตนฺนํ ปูรโณ  สตฺตโม (ชโน) เป็นที่เต็มแห่งชน 7, ที่ 7  (สตฺตโม, สตฺตมี สตฺตมา, สตฺตมํ)
อี

(ลงท้ายปกติสังขยา ตั้งแต่ 12-18  ในอิตถีลิงค์)

เอกาทส เอกาทสนฺนํ ปูรณี เอกาทสี (นารี)  เป็นที่เต็มแห่งนารี 11, ที่ 11
ทฺวาทส ทฺวาทสนฺนํ ปูรณี ทฺวาทสี (นารี)  เป็นที่เต็มแห่งนารี 12, ที่ 12
จตุทฺทส จตุทฺทสนฺนํ ปูรณี จาตุทฺทสี (ติถิ) (วัน) เป็นที่เต็มแห่งวัน 14, (วัน) ที่ 14 (ค่ำ)
ปณฺณรส ปณฺณรสนฺนํ ปูรณี ปณฺณรสี (ติถิ) (วัน) เป็นที่เต็มแห่งวัน 15, (วัน) ที่ 15 (ค่ำ)(ติถิ ติถี ปุ. อิต. วัน ทางจันทรคติ, ดิถี)

 

การใช้ อฑฺฒ ศัพท์
อฑฺฒ แปลว่า ครึ่ง กึ่ง  เมื่อใช้ร่วมกับปูรณสังขยา แสดงจำนวนที่เป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เต็มนั้น
เพื่อนับปริมาณ/จำนวน ที่มีเศษครึ่งหนึ่ง เช่น 1 ครึ่ง, 2 ครึ่ง, ... 150, 350, 7,500 เป็นต้น

อฑฺเฒน ทุติโย ทิวฑฺโฒ ทิยฑฺโฒ ที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง (= 1.5)  (แปลง อฑฺฒ กับ ทุติย และเรียง อฑฺฒ ไว้หลัง)
อฑฺเฒน ตติโย อฑฺฒติโย อฑฺฒเตยฺโย ที่ 3 ด้วยทั้งกึ่ง (= 2.5)  (แปลง อฑฺฒ กับ ตติย)
อฑฺเฒน จตุตฺโถ อฑฺฒุฑฺโฒ ที่ 4 ด้วยทั้งกึ่ง (= 3.5)  (แปลง อฑฺฒ กับ จตุตฺถ)
อฑฺเฒน ปญฺจโม อฑฺฒปญฺจโม ที่ 5 ด้วยทั้งกึ่ง (= 4.5)
อฑฺเฒน ฉฏฺโฐ อฑฺฒฉฏฺโฐ ที่ 6 ด้วยทั้งกึ่ง (= 5.5)


ทิยฑฺฒํ สตํ = ทิยฑฺฒสตํ ร้อยที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง (= 1.5 x 100 = 150)
อฑฺฒติยํ สหสฺสํ = อฑฺฒติยสหสฺสํ พันที่ 3 ด้วยทั้งกึ่ง (= 2.5 x 1,000 = 2,500)
อฑฺฒุฑฺฒํ ทสสหสฺสํ = อฑฺฒุฑฺฒทสสหสฺสํ หมื่นที่ 4 ด้วยทั้งกึ่ง (= 3.5 x 10,000 = 35,000)
อฑฺฒปญฺจมํ สตสหสฺสํ = อฑฺฒปญฺจมสตสหสฺสํ แสนที่ 5 ด้วยทั้งกึ่ง (= 4.5 x 100,000 = 450,000)


การต่อ อฑฺฒ ศัพท์ กับปูรณสังขยา

เรียง อฑฺฒ ไว้ข้างหน้าปูรณสังขยา (ยกเว้นเมื่อต่อกับ ทุติย)  เฉพาะ ทุติย ตติย จตุตฺถ มีแปลงรูปด้วย

  1. อฑฺฒ ต่อกับ ทุติย     แปลงเป็น ทิวฑฺฒ ทิยฑฺฒ  (เรียง อฑฺฒ ไว้หลัง)
  2. อฑฺฒ ต่อกับ ตติย     แปลงเป็น อฑฺฒติย อฑฺฒเตยฺย
  3. อฑฺฒ ต่อกับ จตุตฺถ   แปลงเป็น อฑฺฒุฑฺฒ
  4. อฑฺฒ ต่อกับปูรณสังขยาที่เหลือ

อฑฺฒปญฺจมที่ห้าด้วยทั้งกึ่ง        อฑฺฒฉฏฺฐ    ที่หกด้วยทั้งกึ่ง      อฑฺฒสตฺตม ที่เจ็ดด้วยทั้งกึ่ง          
อฑฺฒอฏฺฐม ที่แปดด้วยทั้งกึ่ง      อฑฺฒนวม    ที่เก้าด้วยทั้งกึ่ง      อฑฺฒทสม   ที่สิบด้วยทั้งกึ่ง

ใช้ อฑฺฒ กับปูรณสังขยา นับนามนาม

ชนานํ ทิยฑฺฒสตํ  ร้อยที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง แห่งชน ท. (ชน 150)

ทิยฑฺฒํ ชนสตํ   ร้อยแห่งชน ที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง (ชน 150) 
ทิยฑฺฒชนสตํ  

 

13) วิภาคตัทธิต ลง ธา โส ปัจจัย  ใช้แทน วิภาค (ส่วน, การจำแนก)

ธา

ใช้ลงท้ายปกติสังขยาตั้งแต่ เอก  และลงท้ายศัพท์อื่นบ้าง  แปลว่า โดยส่วน

เอก เอเกน วิภาเคน เอกธา โดยส่วนเดียว
น-เอก อเนเกน วิภาเคน อเนกธา โดยส่วนมิใช่หนึ่ง, โดยอเนก
ทฺวิ ทฺวีหิ วิภาเคหิ ทฺวิธา เทฺวธา ทุธา โดยส่วนสอง
ติ ตีหิ วิภาเคหิ ติธา เตธา โดยส่วนสาม
สตฺต สตฺตหิ วิภาเคหิ สตฺตธา โดยส่วนเจ็ด
กติ กตีหิ วิภาเคหิ กติธา โดยส่วนเท่าไร
พหุ พหูหิ วิภาเคหิ พหุธา โดยส่วนมาก
โส

ใช้ลงท้ายนามศัพท์ แปลว่า โดยการจำแนก

พฺยญฺชนํ พยญฺชเนน วิภาเคน พฺยญฺชนโส โดยการจำแนกโดยพยัญชนะ
สุตฺตํ สุตฺเตน วิภาเคน สุตฺตโส โดยการจำแนกโดยสูตร
ปทํ ปเทน วิภาเคน ปทโส โดยการจำแนกโดยบท
อตฺโถ อตฺเถน วิภาเคน อตฺถโส โดยการจำแนกโดยเนื้อความ
อุปาโย อุปาเยน วิภาเคน อุปายโส โดยการจำแนกโดยอุบาย
พหุ พหุนา วิภาเคน พหุโส โดยการจำแนกโดยมาก
สพฺพ สพฺเพน วิภาเคน สพฺพโส โดยการจำแนกทั้งปวง
มานํ มาเนน วิภาเคน มานโส โดยการจำแนกโดยการนับ
โยนิ (ปุ. อิต.) โยนินา วิภาเคน โยนิโส โดยการจำแนกโดยเหตุเป็นที่เกิด
อนฺติม อนฺติเมน ปริจฺเฉเทน อนฺตมโส โดยกำหนดมีในที่สุด, อย่างน้อยที่สุด

 

2) ภาวตัทธิต มีปัจจัย 6 ตัว คือ  ตฺต ณฺย ตฺตน ตา ณ กณฺ   ใช้แทน ภาว ความเป็น)
เฉพาะ ตา ปัจจัยลงแล้วสำเร็จเป็นอิตถีลิงค์   ปัจจัยที่เหลือเป็นนปุงสกลิงค์

ตฺต
จนฺโท จนฺทสฺส ภาโว จนฺทตฺตํ ความเป็นแห่งพระจันทร์
มนุสฺโส มนุสฺสสฺส ภาโว มนุสฺสตฺตํ ความเป็นแห่งมนุษย์
ทณฺฑี ทณฺฑิโน ภาโว ทณฺฑิตฺตํ ความเป็นแห่งคนมีไม้เท้า/คนแก่
วสี วสิสฺส ภาโว วสิตฺตํ ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีอำนาจ
ปาจโก ปาจกสฺส ภาโว ปาจกตฺตํ ความเป็นแห่งคนหุง/พ่อครัว
นีลํ นีลสฺส ภาโว นีลตฺตํ ความเป็นแห่งของเขียว
(นีโล สีเขียว/ดำ, นีล มีสีเขียว/ดำ, นีลํ ของเขียว)
กาโฬ กาฬสฺส ภาโว กาฬตฺตํ ความเป็นแห่งของดำ (กาโฬ สีดำ; ข้างแรม, กาฬก มีสีดำ)
ณฺย
ลบ ณฺ แล้ว ย มีอำนาจให้ลบสระ อ ที่สุดศัพท์ได้
อโรค อโรคสฺส ภาโว อาโรคฺยํ ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่มีโรค (ลบ อ ที่ ค)
ทุพฺพล ทุพฺพลสฺส ภาโว ทุพฺพลฺยํ ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีกำลังอันโทษประทุษร้ายแล้ว
อลส อลสสฺส ภาโว อาลสฺยํ ความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน
อณณ อณณสฺส ภาโว อาณณฺยํ ความเป็นแห่งคนไม่มีหนี้
 
ลบ ณฺ  ลบสระ อ แล้ว ลง อิ อาคมได้บ้าง
วิยตฺต วิยตฺตสฺส ภาโว เวยฺยตฺติยํ ความเป็นแห่งคนฉลาด
มจฺฉร มจฺฉรสฺส ภาโว มจฺฉริยํ ความเป็นแห่งคนตระหนี่
อิสฺสร อิสฺสรสฺส ภาโว อิสฺสริยํ ความเป็นแห่งคนผู้เป็นใหญ่
อลส อลสสฺส ภาโว อาลสิยํ ความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน
 
ลบ ณฺ  แล้วแปลง ย กับที่สุดศัพท์เป็นต่างๆ
ปณฺฑิต ปณฺฑิตสฺส ภาโว ปณฺฑิจฺจํ ความเป็นแห่งบัณฑิต
อธิปติ อธิปติสฺส ภาโว อาธิปจฺจํ ความเป็นแห่งคนเป็นใหญ่
พหุสุต พหุสุตสฺส ภาโว พาหุสจฺจํ ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีการฟังมาก
มุฏฺฐสฺสติ มุฏฺฐสฺสติสฺส ภาโว มุฏฺฐสจฺจํ ความเป็นแห่งคนมีสติหลงแล้ว
กุสล กุสลสฺส ภาโว โกสลฺลํ ความเป็นแห่งคนฉลาด
วิปุล วิปุลสฺส ภาโว เวปุลฺลํ ความเป็นแห่งที่อันไพบูลย์
คิลาน คิลานสฺส ภาโว เคลญฺญํ ความเป็นแห่งคนไข้
สมาน สมานานํ ภาโว สามญฺญํ ความเป็นแห่งของเสมอกัน
กุสีโท กุสีทสฺส ภาโว โกสชฺชํ ความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน
สุหท สุหทสฺส ภาโว โสหชฺชํ ความเป็นแห่งคนมีใจดี
สมโณ สมณสฺส ภาโว สามญฺญํ ความเป็นแห่งสมณะ
พฺราหฺมโณ พฺราหฺมณสฺส ภาโว พฺราหฺมญฺญํ ความเป็นแห่งพราหมณ์
สุมน สุมนสฺส ภาโว โสมนสฺสํ ความเป็นแห่งคนมีใจดี
ทุมน ทุมนสฺส ภาโว โทมนสฺสํ ความเป็นแห่งคนมีใจชั่ว
นิปก นิปกสฺส ภาโว เนปกฺกํ ความเป็นแห่งคนมีปัญญา (เครื่องรักษาตน)
ราชา รญฺโญ ภาโว รชฺชํ ความเป็นแห่งพระราชา
ปุริโส ปุริสสฺส ภาโว โปริสฺสํ ความเป็นแห่งบุรุษ
อุปมา อุปมาย ภาโว โอปมฺมํ ความเป็นแห่งอุปมา
 
ณฺย ใช้แทน กมฺม (การกระทำ, ผลการกระทำ)
ภิสโช ภิสชสฺส กมฺมํ เภสชฺชํ การกระทำของหมอ
พฺยาวโฏ พฺยาวฏสฺส กมฺมํ เวยฺยาวจฺจํ การกระทำของผู้ขวนขวาย
 
ณิก ที่ลงในอรรถสกัตถะ (ความหมายเดิมของตน)
ยถาภูตํ ยถาภูตเมว ยถาภุจฺจํ ตามความเป็นจริง
กรุณา กรุณา เอว การุญฺญํ ความกรุณา
ตฺตน
ปุถุชฺชโน ปุถุชฺชนสฺส ภาโว ปุถุชฺชนตฺตนํ ความเป็นแห่งปุถุชน
เวทนา เวทนาย ภาโว เวทนตฺตนํ ความเป็นแห่งเวทนา
ชายา ชายาย ภาโว ชายตฺตนํ ความเป็นแห่งเมีย
ชาโร ชารสฺส ภาโว ชารตฺตนํ ความเป็นแห่งชู้
ตา
มุทุ มุทุโน ภาโว มุทุตา ความเป็นแห่งคนอ่อนโยน
นิทฺทาราโม นิทฺทารามสฺส ภาโว นิทฺทารามตา ความเป็นแห่งคนมีความหลับเป็นที่มายินดี
สหาโย สหายสฺส ภาโว สหายตา ความเป็นแห่งสหาย
ปารมี ปารมิยา ภาโว ปารมิตา ความเป็นแห่งบารมี
กตญฺญู กตญฺญุโน ภาโว กตญฺญุตา ความเป็นแห่งผู้กตัญญู
ลหุ ลหุโน ภาโว ลหุตา ความเป็นแห่งคนเบา
วิสม วิสมสฺส ภาโว เวสมํ ความเป็นแห่งของไม่เสมอ
สุจิ สุจิโน ภาโว โสจํ ความเป็นแห่งของสะอาด
มุทุ มุทุโน ภาโว มทฺทวํ ความเป็นแห่งคนอ่อน
คุรุ คุรุโน ภาโว คารโว ความเป็นแห่งคนหนักแน่น
ยุวา ยุวสฺส ภาโว โยพฺพนํ ความเป็นแห่งคนหนุ่ม
สมคฺค สมคฺคสฺส ภาโว สามคฺคี ความเป็นแห่งคนพร้อมเพรียง (ลง อี ปัจจัย)
กณฺ
รมณีย รมณียสฺส ภาโว รามณียกํ ความเป็นแห่งของอันบุคคลพึงยินดี
มนุญฺญ มนุญฺญสฺส ภาโว มานุญฺญกํ ความเป็นแห่งของอันยังใจให้ยินดียิ่ง

 
ปัจจัยอีก 3 ตัวในสัททนีติ คือ  ณิย  เณยฺย  พฺย

ณิย
วีโร วีรสฺส ภาโว วิริยํ ความเป็นแห่งคนกล้า
อลโส อลสสฺส ภาโว อาลสิยํ ความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน
เณยฺย
สุจิ สุจิโน ภาโว โสเจยฺยํ ความเป็นแห่งของสะอาด
พฺย
ทาโส ทาสสฺส ภาโว ทาสพฺยํ ความเป็นแห่งทาส
       

 

3) อัพยยตัทธิต มีปัจจัย 2 ตัว คือ ถา ถํ ใช้แทน ปการ (ประการ)

ถา
เยน ปกาเรน ยถา โดยประการใด
เตน ปกาเรน ตถา โดยประการนั้น
สพฺพ สพฺเพน ปกาเรน สพฺพถา โดยประการทั้งปวง
ถํ
กึ เกน ปกาเรน กถํ โดยประการไร, อย่างไร (แปลง กึ เป็น ก)
อิม อิมินา ปกาเรน อิตฺถํ โดยประการนี้, อย่างนี้ (แปลง อิม เป็น อิ และซ้อน ตฺ)

 

กฺขตฺตุํ

คัมภีร์ปทรูปสิทธิ แสดงว่า กฺขตฺตุ ํ  ใช้แทน วาร ศัพท์ (ครั้ง คราว วาระ)   ลงหลังปกติสังขยา และ สกิ พหุ กติ ศัพท์ 

เอก เอกํ วารํ เอกกฺขตฺตุํ ครั้งหนึ่ง, วาระหนึ่ง, คราวเดียว
ทฺวิ เทฺว วาเร ทฺวิกฺขตฺตุํ 2 ครั้ง, 2 วาระ
ติ ตโย วาเร ติกฺขตฺตุํ 3 ครั้ง, 3 วาระ
สตฺต สตฺต วาเร สตฺตกฺขตฺตุํ 7 ครั้ง, 7 วาระ