สัพพนาม

สัพพนาม หมายถึง นามที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อไม่ให้ซ้ำซาก เป็นต้น   แบ่งเป็น 2 คือ

  1. ปุริสสัพพนาม
  2. วิเสสนสัพพนาม

(ดู แบบแจกสัพพนาม)

  1. ปุริสสัพพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามนามที่กล่าวถึงมาแล้ว คำที่ใช้แทนตัวผู้พูด และ คำที่ใช้แทนตัวผู้ฟัง  เช่น เขา, ท่าน, ฉัน  เป็นต้น
    แบ่งเป็น 3 บุรุษ คือ
  • ปฐมบุรุษ คือ คำที่ใช้แทนนามนามที่กล่าวถึงมาแล้ว หรือแทนบุคคล หรือแทนสิ่ง ที่ถูกพูดถึง  
    ในภาษาบาลีใช้ ศัพท์  แปลว่า  เขา, มัน เป็นต้น   อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ความเหมาะสมในภาษาไทย 
    เป็นได้ 3 ลิงค์
  • มัธยมบุรุษ  คือ คำที่ใช้แทนผู้ฟัง หรือผู้พูดด้วย 
    ในภาษาบาลีใช้ ตุมฺห ศัพท์  แปลว่า  ท่าน, คุณ, เธอ, เจ้า,  เอ็ง, มึง  เป็นต้น ตามสมควร  
    เป็นได้ 2 ลิงค์ คือ ปุงลิงค์ และ อิตถีลิงค์
  • อุตตมบุรุษ คือ คำที่ใช้แทนตัวผู้พูด 
    ในภาษาบาลีใช้ อมฺห ศัพท์  แปลว่า  ฉัน, กระผม, ข้าพเจ้า, เรา, กู เป็นต้น  ตามสมควร  
    เป็นได้ 2 ลิงค์ คือ ปุงลิงค์ และ อิตถีลิงค์
  1. วิเสสนสัพพนาม คือ สัพพนามที่ใช้ประกอบกับนามนาม เพื่อให้รู้ว่า เป็นคนไหน สิ่งไหน อย่างแน่นอนหรือไม่แน่นอน  อยู่ใกล้หรือไกล (โดยไม่ต้องบอกลักษณะ อย่างคุณนาม)  มีลักษณะและวิธีใช้เหมือนคุณนาม   เป็นได้ 3 ลิงค์    แบ่งเป็น 2 คือ
     1) นิยมวิเสสนสัพพนาม คือสัพพนามที่ใช้ประกอบกับนามนาม ระบุแน่ชัดว่าเป็น คนนั้นคนนี้ หรือสิ่งนั้นสิ่งนี้    มี 4 ศัพท์ คือ
          1. ต  นั้น    2. เอต  นั่น, นี่    3. อิม  นี้    4. อมุ  โน้น
    2) อนิยมวิเสสนสัพพนาม คือสัพพนามที่ใช้ประกอบกับนามนาม ไม่ระบุแน่ชัดว่า เป็นใคร หรือสิ่งใด มี 13 ศัพท์ คือ
       1. ย  ใด                            7.  กตร  คนไหน, อย่างไหน   
       2. อญฺญํ  อื่น                      8.  กตม  คนไหน, อย่างไหน   
       3. อญฺญตร  คนใดคนหนึ่ง     9.   เอก  คนหนึ่ง, พวกหนึ่ง
       4. อญฺญตม  คนใดคนหนึ่ง    10.  เอกจฺจ  บางคน, บางพวก
       5. ปร  อื่น                         11.  สพฺพ  ทั้งปวง
       6. อปร  อื่นอีก                   12.  อุภย  ทั้งสอง
                                              13.  กึ  อะไร
    อนิยมวิเสสนสัพพนาม ทั้ง 13 ศัพท์ แจกอย่าง ศัพท์
    (มีอีก 4 ศัพท์ที่แจกอย่าง ศัพท์ คือ  อิตร นอกนี้  ทกฺขิณ ขวา, ใต้  อุตฺตร ซ้าย, เหนือ  ปุพฺพ ก่อน)

ต ศัพท์ ่เป็นได้ทั้ง ปุริสสัพพนาม และ วิเสสนสัพพนาม

ต ศัพท์ ปุริสสัพพนาม  ใช้แทนนามนามที่กล่าวมาแล้ว โดยไม่ยกนามนามนั้นมากล่าวซ้ำอีก แปลว่า “เขา มัน ท่าน นาง” เป็นต้น
ต ศัพท์ วิเสสนสัพพนาม  ใช้ขยายกับนามนาม โดยวางไว้หน้านามนามนั้น ให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ ตรงกัน  แปลว่า “นั้น”

ปุริสสัพพนาม:
วิเสสนสัพพนาม:
ทารโก รุกฺขํ  อภิรุหติ,  โส ภูมิยํ ปตติ.
ทารโก รุกฺขํ  อภิรุหติ,  โส ทารโก ภูมิยํ ปตติ.
เด็กขึ้นต้นไม้,  เขา ตกลงบนพื้น.
เด็กขึ้นต้นไม้,  เด็ก นั้น ตกลงบนพื้น.
ปุริสสัพพนาม:
วิเสสนสัพพนาม:
อุปาสิกา ภิกฺขุสงฺฆสฺส ยาคุภตฺตํ อทาสิ,   สา สทฺธาย ปุญฺญํ กโรติ.
อุปาสิกา ภิกฺขุสงฺฆสฺส ยาคุภตฺตํ อทาสิ,  สา อุปาสิกา สทฺธาย ปุญฺญํ กโรติ.
อุบาสิกาถวายข้าวต้มข้าวสวยแก่หมู่ภิกษุ,  นาง ทำบุญด้วยศรัทธา.
อุบาสิกาถวายข้าวต้มข้าวสวยแก่หมู่ภิกษุ, อุบาสิกา นั้น ทำบุญด้วยศรัทธา.
ปุริสสัพพนาม:
วิเสสนสัพพนาม:
มธุ เคเห อโหสิ,   มาตา ตํ อาหริ.
มธุ เคเห อโหสิ,   มาตา ตํ มธุํ อาหริ.
น้ำผึ้งมีอยู่ในบ้าน,  แม่นำมันมา.
น้ำผึ้งมีอยู่ในบ้าน,  แม่นำ น้ำผึ้ง นั้น มา.

การแปล ต ศัพท์ ปุริสสัพพนาม โดยพยัญชนะ
ต ศัพท์ ปุริสสัพพนามนี้   สำหรับผู้เริ่มศึกษา ในการแปลบาลีเป็นไทยโดยพยัญชนะ
ให้แปลยกนามนามที่สัพพนามนั้นใช้แทนขึ้นมาด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ความชัดเจนขึ้น  โดยแปล ต ศัพท์ว่า “นั้น” เหมือนวิเสสนสัพพนาม  เช่น 

มธุ เคเห อโหสิ,   มาตา ตํ อาหริ.

ในประโยคนี้ คำว่า ตํ เป็นปุริสสัพพนาม (แทนคำว่า มธุํ  หมายถึงน้ำผึ้ง)  แปลว่า “มัน”
แต่เพื่อความชัดเจน ให้แปล ตํ ศัพท์นี้ เป็นวิเสสนสัพพนาม  โดยเพิ่มนามนามที่มันแทนในประโยคนั้น เข้ามาแปลด้วย คือ มธุํ  เป็น ตํ มธุํ แปลว่า “น้ำผึ้งนั้น” 
ดังนั้น คำว่า ตํ ในประโยคนี้ จึงถูกแปลอย่างวิเสสนสัพพนาม

ต ศัพท์ วิเสสนสัพพนาม  ใช้ขยายปุริสสัพพนามได้  เช่น

โส/สา  อหํ  อาจริยสฺส  วจนํ  กโรมิ.   ผม/ดิฉัน  นั้น  กระทำ ซึ่งคำ  ของอาจารย์.
เต/ตา  มยํ  อาจริยสฺส  วจนํ  กโรม.    ผม ท./ดิฉัน ท. นั้น  กระทำ ซึ่งคำ ของอาจารย์.
(ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ เป็นได้ทั้ง 2 ลิงค์ และแจกเหมือนกันทั้ง 2 ลิงค์)

เต เม โว โน  ห้ามเรียงไว้ต้นประโยค ต้องมีคำอื่นนำหน้าเสมอ  เช่น

โก  นาม  เต  อุปชฺฌาโย?     อุปัชฌาย์  ของท่าน  ชื่ออะไร?
อุปชฺฌาโย เม  ภนฺเต  โหหิ.    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ท่าน  จงเป็น  อุปัชฌาย์  ของกระผม.
อหํ  ธมฺมํ  โว  เทเสสฺสามิ.       ข้าพเจ้า  จักแสดง  ซึ่งธรรม  แก่ท่าน ท.
พุทฺโธ  โน  โลเก  อุปฺปชฺชิ.      พระพุทธเจ้า  ของเรา ท. เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว  ในโลก.

กึ ศัพท์ (ใคร, อะไร, ไหน)
ปุงลิงค์  แปลง กึ เป็น ก  แล้วแจกอย่าง ย ศัพท์
อิตถีลิงค์  แปลง กึ เป็น กา  แล้วแจกอย่าง ย ศัพท์
นปุงสกลิงค์   แปลง กึ เป็น ก  ยกเว้น ป. ทุ. เอก. คงเป็น กึ   แล้วแจกอย่าง ย ศัพท์
  ใน ปุ. นปุ. เอก.  แปลง ก เป็น กิ ได้บ้าง เช่น จ. ฉ. กิสฺส  ส. กิสฺมึ กิมฺหิ
 

การใช้ กึ ศัพท์

กึ ศัพท์ที่ใช้เป็นคำถาม  (ดูเพิ่มเติม การสร้างประโยคคำถาม ในภาษาบาลี)

 กึ ศัพท์  สัพพนาม  (ใคร, อะไร, ไหน)

  1. ใช้อย่างปุริสสัพพนาม คือ ใช้ลำพังตัวเอง ไม่ต้องประกอบกับนามนาม แปลว่า ใคร อะไร  เช่น
    โก/กา  คามํ  อาคจฺฉติ?    ใคร  ย่อมมา  สู่บ้าน?
    กึ  ปิฏเก โหติ?    อะไร  มีอยู่  ในตะกร้า?
    กสฺส  สุนโข  อาวาเส  รวติ?    สุนัข  ของใคร  ร้องอยู่ ในวัด?
  2. ใช้อย่างวิเสสนสัพพนาม ใช้ประกอบกับนามนาม แปลว่า อะไร ไร ไหน  เพื่อถามอย่างระบุชัดเจนขึ้น
    เช่นรู้ว่าเป็นสามเณร เป็นเด็กหญิง เป็นผลไม้  แต่ยังไม่รู้ว่าคนไหน ประเภทไหน เป็นต้น  (กึ แบบนี้มีความหมายเท่ากับ กตร กตม)  เช่น
    โก  สามเณโร  ปตฺเต  โธวติ?    สามเณร  รูปไหน  ย่อมล้าง  ซึ่งบาตร ท.?  (=กตโร/กตโม สามเณโร ...)
    กา  ทาริกา  อุยฺยานํ  คจฺฉติ?    เด็กหญิง ไร/ไหน ย่อมไป สู่สวน?   (=กตรา/กตมา ทาริกา ...)
    กึ  ผลํ   ปิฏเก  โหติ?    ผลไม้  อะไร  มีอยู่  ในตะกร้า?    (=กตรํ/กตมํ ผลํ ...)
    กสฺส ภิกฺขุโน  สุนโข  อาวาเส  รวติ?    สุนัข  ของภิกษุ ไหน  ร้องอยู่  ในวัด?

กึ ศัพท์ นิบาต (หรือ/ไหม, ทำไม, อย่างไร)

  1. เป็นคำถามให้ตอบใช่หรือไม่ใช่  แปลว่า หรือ   เช่น
    กึ ปน เถโร อาคโต?        ก็ พระเถระ มาแล้ว หรือ?
    กึ  ปเนตํ  อาวุโส  ปฏิรูปํ?     ดูก่อนอาวุโส  ก็  อันนั่น  สมควร  หรือ?
    บางทีประโยคนั้นไม่มี กึ  แต่ใช้วิธีพูดขี้นเสียงสูงที่ท้ายประโยค* เพื่อทำให้เป็นคำถาม  เช่น
       อตฺถิ เต กหาปณํ?    กหาปณะ ของท่าน มีอยู่ หรือ(วางกิริยาใหญ่ไว้ต้นประโยคได้)
       อตฺถิ  ปนายสฺมโต  โกจิ  เวยฺยาวจฺจกโร?    ก็  ใครๆ  เป็นไวยาวัจกร  ของท่านผู้มีอายุ  มีอยู่  หรือ?
       ตฺวมสิ โฆสโก นาม?   ท่านเป็นผู้ชื่อว่าโฆสกะ ย่อมเป็น หรือ?
       โสตุกามตฺถ?    เธอ ท. เป็นผู้ใคร่เพื่ออันฟัง ย่อมเป็น หรือ?
       เทวราชา:  เอวํ ภนฺเต.  อย่างนั้น หรือ(คำถาม  พูดขี้นเสียงสูงท้ายประโยค)
         ตาปโส:   เอวมาวุโส.     อย่างนั้น.        (คำตอบ  พูดลงเสียงต่ำท้ายประโยค)
    ในประโยคบอกเล่า ก็วางกิริยาใหญ่ไว้ต้นประโยคได้ เพื่อเน้นความ หรือเน้นกิริยา
        อตฺถิ เต กหาปณํ. = กหาปณํ เต อตฺถิ.
    * เทียบเคียงกับระดับเสียง(สูง/ต่ำ)ของคำในประโยค (intonation) ในภาษาอังกฤษ ที่มีการพูดขี้นเสียงสูงที่ท้ายประโยค  สำหรับประโยคคำถามที่ต้องการให้ตอบว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” (yes/no questions)  และพูดลงเสียงต่ำท้ายประโยคในประโยคบอกเล่าและประโยคคำถามอื่นๆ    ในภาษาไทย ประโยคคำถามก็มักขี้นเสียงสูงท้ายประโยค  เช่น  เขามาไหม?  กินข้าวด้วยกันมั้ย?  เขาไม่มาหรือ?
  2. เป็นคำถามถึงเหตุผล  แปลว่า ทำไม  (=กสฺมา กึการณา)  เช่น
    กึ ภิกฺขเว โรทถ?  ดูก่อนภิกษุ ท. เธอ ท. ย่อมร้องไห้ ทำไม?
    กึ ปาลิต ปมชฺชสิ?   ดูก่อนปาลิตะ  ท่าน  ประมาทอยู่  ทำไม?
  3. เป็นคำถามถึงวิธีการ เป็นต้น แปลว่า อย่างไร  (=กถํ)  เช่น
    เต อตฺตโน ปุราณจีวรานิ กึ กริสฺสนฺติ?    พวกเขา จักทำจีวรเก่าของตน อย่างไร?
    ตํ กึ มญฺญสิ นนฺท?    นันทะ เธอจะสำคัญข้อนั้น อย่างไร?

กึ ศัพท์ที่มี จิ ต่อท้าย ไม่ใช้เป็นคำถาม

  1. กึ ศัพท์ ตามปกติแปลว่า ใคร อะไร   แต่ถ้ามี จิ ต่อท้าย ให้แปลซ้ำสองหนว่า ใครๆ  ไรๆ  อะไรๆ   เช่น
       โกจิ             ใครๆ  
       โกจิ ชโน       ชน ไรๆ 
       กาจิ  อิตฺถิโย  หญิงไรๆ 
       กิญฺจิ  ธนํ      ทรัพย์ อะไรๆ
    อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า น้อย  บาง เช่น 
       กิญฺจิ  ธนํ  ทรัพย์  น้อยหนึ่ง    โกจิ  ปุริโส  บุรุษ  บางคน
    เมื่อเป็นพหุวจนะ แปลว่า  บางพวก บางเหล่า  เช่น
      เกจิ ชนา  ชน ท. บางพวก  กาจิ  อิตฺถิโย  หญิง ท. บางเหล่า    กานิจิ  ภาชนานิ  ภาชนะ ท. บางพวก
  2. วิธีแจก กึ ศัพท์ ที่มี จิ ต่อท้าย
    ให้นำ จิ ไปต่อท้ายศัพท์ที่แจกแล้วตามวิภัตตินั้นๆ  เช่น  โกจิ  เกจิ  กาจิ  กานิจิ
    ถ้าวิภัตติใด ลงท้ายด้วยนิคคหิต ( ํ  ) ให้แปลงนิคคหิตเป็น ญฺ  เช่น
    กํ + จิ = กิญฺจิ     กึ + จิ = กิญฺจิ     กสฺมึ + จิ = กสฺมิญฺจิ
  3. กึ ศัพท์ที่มี นำหน้า และมี จิ ต่อท้าย
    เมื่อมี ย นำหน้า และมี จิ ต่อท้าย กึ ศัพท์  ให้แปลว่า  คนใดคนหนึ่ง, สิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น  
        โย โกจิ (ปุคฺคโล),  ยา กาจิ (อิตฺถี),  ยงฺกิญฺจิ (กุลํ)

อมุ ศัพท์ แปลงเป็น อสุ ได้บ้าง  และนิยมลง ก ท้าย อมุ และ อสุ   เป็น อมุก และ อสุก 
เป็นได้ 3 ลิงค์  แจกตามแบบ ย ศัพท์        อมุก และ อสุก ใช้มากกว่า อมุ

อมุโก  สกุโณ  รวติ.    นก  โน้น  ย่อมร้อง.
อมุกา  สกุณี  รวติ.    นางนก  โน้น  ย่อมร้อง.
อมุกํ  กุลํ  นคเร ติฏฺฐติ.    ตระกูล  โน้น  ย่อมตั้งอยู่  ในเมือง.
อสุโก  ภิกฺขุ  คามํ  ปิณฺฑาย  ปาวิสิ.    ภิกษุ  โน้น  เข้าไปแล้ว  สู่บ้าน  เพื่อบิณฑะ.