อาขยาต  แปลว่า  บอก, กล่าว  (อา-ขฺยา-ต)
อาขยาต  หมายถึง  ศัพท์ที่บอกกิริยา (คือการกระทำ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน  เป็นต้น)

กิริยาอาขยาต มีส่วนประกอบ 8 อย่าง คือ  ธาตุ    ปัจจัย วาจก   วิภัตติ กาล  บท  วจนะ  บุรุษ

ส่วนประกอบหลัก ที่นำมาประกอบเป็นรูปกิริยา มี 3 อย่าง* คือ

  1. ธาตุ (root) บอกให้รู้ อรรถ คือความหมาย ของกิริยา
  2. ปัจจัย (suffix)  บอกให้รู้ วาจก
  3. วิภัตติ (declension)   บอกให้ รู้ กาล  บท  วจนะ  บุรุษ

วท    +          อ             +           ติ         =     วทติ (กล่าวอยู่)
ธาตุ           ปัจจัย                   วิภัตติ             กิริยาอาขยาต
   |                  |                           |
อรรถ          วาจก          กาล-บท-วจนะ-บุรุษ
‘กล่าว’         กัตตุวาจก    ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกวจนะ ปฐมบุรุษ

อาจมี อุปสัค และ/หรือ อาคม มาประกอบด้วย เช่น   อาโรเจสุํ อา-รุจ-เณ-สฺ-อุํ  มี อา อุปสัค เป็นบทหน้า  และ สฺ อาคม ท้ายธาตุ

อา รุจ  +      เณ           +          สฺ อุํ         =     อาโรเจสุํ (บอกแล้ว)
ธาตุ           ปัจจัย                   วิภัตติ             กิริยาอาขยาต
   |                  |                           |
อรรถ          วาจก          กาล-บท-วจนะ-บุรุษ
‘บอก’          กัตตุวาจก    อดีตกาล ปรัสสบท พหุวจนะ ปฐมบุรุษ

 

ธาตุ

ธาตุ คือ รากศัพท์1 (root) ของกิริยา  
ธาตุ แปลว่า ทรงไว้  (คือ ทรงอรรถ/ความหมาย ของกิริยาไว้)
ธาตุ บอกอรรถ2 คือความหมาย ของกิริยานั้น

1 ธาตุ คือ รากศัพท์ ของศัพท์ต่างๆ ทั้งกิริยาศัพท์ (อาขยาต-กิตก์),  นามศัพท์ (เฉพาะนามศัพท์ที่สำเร็จมาจากธาตุ = นามกิตก์)  และอัพยยศัพท์ เช่น ศัพท์ที่ลงท้ายด้วย ตเว ตุํ: กาตุํ ทาตุํ, สกฺกา (สก), ลพฺภา (ลภ)
2 เช่น  ชิ ธาตุ แปลว่า/มีอรรถว่า/มีความหมายว่า ‘ชนะ’   เขียนเป็นบาลีว่า  ชิ ชเย  ชิ ธาตุในความชนะ

ธาตุ เมื่อลงปัจจัย(อาขยาต)  ลงวิภัตติ(อาขยาต) แล้ว  จึงสำเร็จเป็นกิริยาอาขยาต  นำไปใช้ในประโยคได้  เช่น 
ชิ ธาตุ ยังเป็นเพียงรากศัพท์  แม้มี/ทรงความหมายว่า ‘ชนะ’ ก็ตาม ยังนำไปใช้ในประโยคไม่ได้ 
ต้องลง นา ปัจจัย  ติ วิภัตติ ก่อน สำเร็จเป็นกิริยา ชินาติ แปลว่า ‘ย่อมชนะ’

ธาตุจัดเป็น 8 หมวด  ตามที่ประกอบด้วยปัจจัยตัวเดียวกัน  คือ

หมวดธาตุ ลงปัจจัย ตัวอย่างธาตุ
1. หมวด ภู ธาตุ ลง  (เอ)1 ปัจจัย ภู หุ สี ชิ - มร ปจ อิกฺข ลภ คม
2. หมวด รุธ ธาตุ ลง  (เอ)2  ปัจจัย* รุธ ภุช ลิป - มุจ ภิท
3. หมวด ทิว ธาตุ ลง    ปัจจัย ทิว สิว ขี - พุธ มุห มุส รช - มุจ ภิท
4. หมวด สุ ธาตุ ลง  ณุ-ณา  ปัจจัย สุ วุ สิ
5. หมวด กี ธาตุ ลง  นา  ปัจจัย กี ชิ จิ ญา - ธุ ลุ ผุ
6. หมวด คห ธาตุ   ลง  ณฺหา  ปัจจัย คห
7. หมวด ตน ธาตุ  ลง  โอ  ปัจจัย ตน กร สกฺก ชาคร
8. หมวด จุร ธาตุ ลง  เณ-ณย  ปัจจัย จุร ตกฺก ลกฺข มนฺต จินฺต
(ภู รุ ทิ สุ  กี ค ต จุ) (อ เอ ย ณุ-ณา นา ณฺหา โอ เณ-ณย) - ตัวหนา คือ อกัมมธาตุ, ตัวหนาเอียง คือ เป็นทั้งอกัมมธาตุ-สกัมมธาตุ

* และลงนิคคหิตอาคม หน้าพยัญชนะที่สุดธาตุ
1 แปลง อ เป็น เอ  เช่น วเทติ, อธิฏฺเฐติ*    2 ลง เอ เฉพาะ รุธ ธาตุ?

ธาตุแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. อกัมมธาตุ  ธาตุที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ (กรรม คือสิ่งที่ถูกทำ)
2. สกัมมธาตุ  ธาตุที่ต้องมีกรรมมารับ (แต่อาจละกรรมไว้ ไม่เขียนบ้างก็ได้)
    (อกัมมกิริยา  กิริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ
     สกัมมกิริยา  กิริยาที่ต้องมีกรรมมารับ)

ตัวอย่าง ธาตุ 8 หมวด (จัดตามที่ธาตุเหล่านั้นลงปัจจัยเดียวกัน)

ตัวอย่างธาตุต่อไปนี้ เมื่อลงปัจจัยอาขยาตแล้ว ก็พร้อมที่จะลงวิภัตติอาขยาตในหมวดต่างๆ สำเร็จเป็นกิริยาอาขยาตนำไปใช้ในประโยคต่อไปได้  
(กิริยาอาขยาตกับประธานของประโยค ต้องมีบุรุษและวจนะตรงกันด้วย)

วนฺท    +อ    = วนฺท    ไหว้   ลง ติ วิภัตติ เป็นต้น   เป็น วนฺทติ, วนฺทนฺติ, วนฺทสิ; วนฺทตุ; วนฺทิ, วนฺทิสฺสติ ...

ป. ปุริโส/อิตฺถี/กุลํ วนฺทติ. ผู้ชาย/ผู้หญิง/ตระกูล ไหว้.   ปุริสา/อิตฺถิโย/กุลานิ วนฺทนฺติ. ผู้ชาย ท./ผู้หญิง ท./ตระกูล ท. ไหว้.
  โส/สา/ตํ วนฺทติ. เขา/เธอ ไหว้.   เต/ตา/ตานิ วนฺทนฺติ เขา ท./เธอ ท. ไหว้.
ม. ตฺวํ วนฺทสิ. คุณ ไหว้.   ตุมฺเห วนฺท. คุณ ท. ไหว้.
อุ. อหํ วนฺทามิ. ผม ไหว้.   มยํ วนฺทา. ผม ท. ไหว้.
หมวด ภู ธาตุ (อ)
*ภู +อ = ภว มี, เป็น
*หุ +อ = โห มี, เป็น
*สี +อ = เส, สย นอน
ชิ +อ = เช, ชย ชนะ
*มร +อ = มร ตาย
**ปจ +อ = ปจ หุง, ต้ม; สุก
อิกฺข +อ = อิกฺข เห็น
ลภ +อ = ลภ ได้
**คม +อ = คจฺฉ ไป, ถึง
หมวด รุธ ธาตุ (อ, เอ)
(และลงนิคคหิตอาคม หน้าพยัญชนะที่สุดธาตุ)
รุธ +อ เอ = รุนฺธ, รุนฺเธ ปิด, กั้น
ภุช +อ = ภุญฺช กิน
ลิป +อ = ลิมฺป ฉาบ
มุจ +อ = มุญฺจ ปล่อย
ภิท +อ = ภินฺท ทำลาย, ต่อย
หมวด ทิว ธาตุ (ย)
*ทิว +ย = ทิพฺพ เล่น
สิว +ย = สิพฺพ เย็บ
*ขี +ย = ขีย สิ้น
พุธ +ย = พุชฺฌ รู้, ตรัสรู้
*มุห +ย = มุยฺห หลง
มุส +ย = มุสฺส ลืม
รช +ย = รชฺช ย้อม
*มุจ +ย = มุจฺจ หลุด, พ้น
*ภิท +ย = ภิชฺช แตก
หมวด สุ ธาตุ (ณุ, ณา)
สุ +ณา = สุโณ สุณา ฟัง
วุ +ณา = วุณา ร้อย
สิ +ณุ = สิโณ ผูก
หมวด กี ธาตุ (นา)
กี +นา = กีนา ซื้อ
ชิ +นา = ชินา ชนะ
จิ +นา = จินา ก่อ, สั่งสม
ญา +นา = ชานา รู้
ธุ +นา = ธุนา กำจัด, ทำลาย
ลุ +นา = ลุนา เกี่ยว, ตัด
ผุ +นา = ผุนา ฝัด, โปรย
หมวด คห ธาตุ (ณฺหา)
คห +ณฺหา = คณฺหา ถือเอา, จับ, รับ
หมวด ตน ธาตุ (โอ)
ตน +โอ = ตโน แผ่ไป
กร +โอ = กโร ทำ
*สกฺก +โอ = สกฺโก อาจ
*ชาคร +โอ = ชาคโร ตื่น
หมวด จุร ธาตุ (เณ, ณย)
จุร +เณ ณย = โจเร, โจรย ลัก, ขโมย
ตกฺก +เณ ณย = ตกฺเก, ตกฺกย ตรึก
ลกฺข +เณ ณย = ลกฺเข, ลกฺขย กำหนด
*มนฺต +เณ ณย = มนฺเต, มนฺตย ปรึกษา
จินฺต +เณ ณย = จินฺเต, จินฺตย คิด รู้, นึก

ตัวอย่างการทำตัวกิริยาอาขยาต
ภวติ แปลว่า ย่อมมี, ย่อมเป็น  มาจาก ภู ในความมี, เป็น  ปัจจัย ติ วัตตมานาวิภัตติ   แปลง อู เป็น โอ  แปลง โอ เป็น อว
รุนฺธติ แปลว่า ย่อมปิด, ย่อมกั้น  มาจาก รุธ ในความปิด, กั้น  ปัจจัย นิคคหิตอาคมต้นธาตุ  ติ วัตตมานาวิภัตติ  แปลงนิคคหิตเป็น นฺ

 

วิภัตติ (declensions)

วิภัตติอาขยาต แบ่งเป็น 8 หมวด คือ

  1. วตฺตมานา    บอกปัจจุบันกาล  ปัจจุบันแท้-ปัจจุบันใกล้อดีต-ปัจจุบันใกล้อนาคต
  2. ปญฺจมี    บอกความบังคับ ความหวัง ความอ้อนวอน
  3. สตฺตมี    บอกความยอมตาม ความกำหนด ความรำพึง
  4. ปโรกฺขา    บอกอดีตกาล ล่วงแล้วไม่มีกำหนด
  5. หิยตฺตนี    บอกอดีตกาล ล่วงแล้ววานนี้
  6. อชฺชตฺตนี    บอกอดีตกาล ล่วงแล้ววันนี้
  7. ภวิสฺสนฺติ    บอกอนาคตกาล ของปัจจุบัน
  8. กาลาติปตฺติ    บอกอนาคตกาล ของอดีต

ในหมวดหนึ่งๆ  มีวิภัตติ 12 ตัว คือ  ฝ่ายปรัสสบท 6 และอัตตโนบท 6   มี 2 วจนะ 
มีบุรุษ 3 คือ ปฐมบุรุษ  มัชฌิมบุรุษ และ อุตตมบุรุษ  
รวมทั้งหมดมีวิภัตติ 96 ตัว

1. วตฺตมานา 
ปัจจุบันกาล (อยู่, ย่อม, จะ)
  ปรัสสบท อัตตโนบท
  เอกวจนะ พหุวจนะ เอกวจนะ พหุวจนะ
ป.
ม.
อุ.
ติ
สิ  
มิ
อนฺติ 

เต
เส
เอ
อนฺเต
วฺเห
มฺเห
2. ปญฺจมี
บังคับ, หวัง, อ้อนวอน (จง, เถิด, ขอจง)
ป.
ม.
อุ.
ตุ
หิ
มิ
อนฺตุ

ตํ
สฺสุ
เอ
อนฺตํ
วโห
อามฺหเส
3. สตฺตมี
ยอมตาม, กำหนด, รำพึง (ควร, พึง, พึง)
ป.
ม.
อุ.
เอยฺย เอถ เอ
เอยฺยาสิ
เอยฺยามิ
เอยฺยุํ
เอยฺยาถ
เอยฺยาม
เอถ
เอโถ
เอยฺยํ
เอรํ
เอยฺยวฺโห
เอยฺยามฺเห
4. ปโรกฺขา
อดีตกาล (แล้ว)
ป.
ม.
อุ.

เอ
อํ
อุ
ตฺถ
มฺห
ตฺถ
ตฺโถ
อึ
เร
วฺโห
มฺเห
5. หิยตฺตนี
อดีตกาล (‘แล้ว’ ถ้ามี อ นำหน้า ‘ได้...แล้ว’)
ป.
ม.
อุ.
อา
โอ
อํ
อู
ตฺถ
มฺห
ตฺถ
เส
อึ
ตฺถุํ
วฺหํ
มฺหเส
6. อชฺชตฺตนี
อดีตกาล (‘แล้ว’ ถ้ามี อ นำหน้า ‘ได้...แล้ว’)
ป.
ม.
อุ.
อี
โอ อี
อึ
อุํ  อึสุ อํสุ
ตฺถ
มฺหา
อา
เส
อํ
อู
วฺหํ
มฺเห
7. ภวิสฺสนฺติ
อนาคตกาล (จัก)
ป.
ม.
อุ.
สฺสติ

สฺสสิ
สฺสามิ
สฺสนฺติ
สฺสถ
สฺสาม
สฺสเต
สฺสเส
สฺสํ
สฺสนฺเต
สฺสวฺเห
สฺสามฺเห
8. กาลาติปตฺติ
อนาคตกาลของอดีต (‘จัก...แล้ว ’ ถ้า มี อ นำหน้า ‘จักได้..แล้ว’)
ป.
ม.
อุ.
สฺสา
สฺเส
สฺสํ
สฺสํสุ
สฺสถ
สฺสามฺหา
สฺสถ
สฺสเส
สฺสํ
สฺสึสุ
สฺสวฺเห
สฺสามฺหเส

- ใช้วิภัตติฝ่ายปรัสสบทเป็นหลัก ฝ่ายอัตตโนบทใช้น้อย
- วิภัตติที่ขีดเส้นใต้ คือ ใช้แทนวิภัตติฝ่ายปรัสสบทในตำแหน่งที่ตรงกันได้ เช่น ใช้ เต แทน ติ, อนฺเต แทน อนฺติ

 

วิภัตตินาม กับ วิภัตติอาขยาต ต่างกัน

วิภัตตินาม ใช้แจกนามศัพท์  บอกให้รู้ ลิงค์  วจนะ  การันต์ และ อายตนิบาต
วิภัตติอาขยาต ใช้ลงท้ายธาตุ  บอกให้รู้ กาล  บท  วจนะ  บุรุษ

การแจกวิภัตตินาม และ อาขยาต
วิภัตตินาม ลงท้ายนามศัพท์ แจกตามลิงค์ และ การันต์  ของนามนั้น
วิภัตติอาขยาต ลงท้ายธาตุ  แจกตามบุรุษ และ วจนะ  ของนามที่เป็นประธาน
 

ในวิภัตติ 8 หมวดนั้น  เมื่อประกอบกับธาตุแล้ว  บางตัวเปลี่ยนรูปไป  ดังนี้

วตฺตมานา

  1. ติ:    ใช้ เต แทนบ้าง  เช่น  ชายเต  ย่อมเกิด
  2. อนฺติ:    1) ใช้ อนฺเต แทนบ้าง   เช่น  ปุจฺฉนฺเต  ย่อมถาม
               2) แปลงเป็น เร*  เช่น  วุจฺจเร  ย่อมกล่าว, โสจเร ย่อมเศร้าโศก
  3. มิ ม:    ทีฆะ อ ที่สุดธาตุ เป็น อา  เช่น  วทามิ  วทาม

(หลักการแปลง อนฺติ เป็น เร:
1. ข้างหน้า อนฺติ ต้องเป็นรัสสะ 2. หน้ารัสสะเป็นทีฆะหรือสังโยค.
เทียบมาตราเสียง: วุจฺจนฺติ _ _ . กับ วุจฺจเร _ . _ ใช้ในการแต่งฉันท์
ให้เสียงลงครุลหุได้ง่ายขึ้น)

ปญฺจมี

  1. ตุ:    ใช้ ตํ แทนบ้าง  เช่น  ชยตํ จงชนะ
  2. หิ มิ ม:    หิ มิ ม อยู่หลัง  ทีฆะที่สุดธาตุ  เช่น  คจฺฉาหิ จงไป
  3. หิ:    1) ลบ หิ บ้างก็ได้ (แต่ลบแล้วไม่ต้องทีฆะที่สุดธาตุ)  เช่น  คจฺฉ  จงไป
           2) ใช้ สฺสุ แทนบ้าง   เช่น กรสฺสุ  จงทำ

สตฺตมี

  1. เอยฺย:  1) ลบ ยฺย เหลือ เอ  เช่น  กเร  พึงทำ
              2) ใช้ เอถ แทนบ้าง  เช่น  ลเภถ  พึงได้
              3) แปลงเป็น อา บ้าง เช่น  กยิรา พึงทำ
  2. เอยฺยามิ:    ใช้ เอยฺยํ แทน  เช่น  ลเภยฺยํ  พึงได้

หิยตฺตนี

  1. ลง อ อาคม ที่ต้นธาตุเสมอ
  2. อา:   รัสสะ อา เป็น อ บ้าง  เช่น  อโวจ ได้กล่าวแล้ว

อชฺชตฺตนี

  1. อี:   รัสสะ อี เป็น อิ  เช่น  กริ  ทำแล้ว
  2. อุํ:   1) มักแปลงเป็น อึสุ  และแปลงเป็น อํสุ บ้าง เช่น อกํสุ อกรึสุ ได้ทำแล้ว
          2) มักลง สฺ อาคม  เช่น  อเหสุํ ได้เป็นแล้ว
  3. โอ:   ใช้ อี แทน (และรัสสะเป็น อิ)

ภวิสฺสนฺติ

  1. ลง อิ อาคม หลังธาตุทั้งหมด
  2. สฺสามิ:   ใช้ สฺสํ แทนบ้าง
  3. ธาตุบางตัว เมื่อลงวิภัตติหมวดภวิสสันติแล้ว ให้ลบ สฺส ได้ แล้วแปลงตัวธาตุไปบ้าง ดังนี้

วจ -กล่าว    แปลงเป็น วกฺข    วกฺขติ = วจิสฺสติ    จักกล่าว
ลภ -ได้    แปลงเป็น ลจฺฉ    ลจฺฉติ = ลภิสฺสติ    จักได้ 
ทิส -เห็น    แปลงเป็น ทกฺข    ทกฺขติ = ปสฺสิสฺสติ    จักเห็น
กร -ทำ    แปลงเป็น กาห    กาหติ = กริสฺสติ    จักทำ
วส -อยู่    แปลงเป็น วจฺฉ    วจฺฉติ = วสิสฺสติ    จักอยู่

กาลาติปตฺติ

  1. ลง อ อาคม ต้นธาตุ  ลง อิ อาคมหลังธาตุ  เช่น อกริสฺสา
  2. สฺสา:   มักรัสสะ เป็น สฺส  เช่น  อกริสฺส

ความนิยมใช้วิภัตติอาขยาตแต่ละหมวด

  1. ปโรกฺขา  มีใช้เพียง อห/พฺรู ธาตุ ปฐมบุรุษ อ อุ  (อาห อาหุ) เท่านั้น
  2. หิยตฺตนี  มีใช้น้อยเพียงบางธาตุที่นิยม
  3. กาลาติปตฺติ  มีใช้น้อย เพราะโอกาสที่จะกล่าวถึงอดีตแบบพิเศษมีน้อย
  4. ในเรื่องเล่า ซึ่งกล่าวถึงอดีต ใช้ อชฺชตฺตนี มากที่สุด  ส่วน วตฺตมานา ปญฺจมี สตฺตมี ภวิสฺสนฺติ ใช้ได้ทั่วไป

เทียบ กาล กับ Tense

กาล Tense หมวดวิภัตติ ตัวอย่าง
ปัจจุบันกาล Present tense วัตตมานา (ติ อนฺติ …) กุมาโร ปูวํ ภุญฺชติ.
อนาคตกาล Future tense ภวิสสันติ (สฺสติ สฺสนฺติ …) กุมาโร ปูวํ ภุญฺชิสฺสติ.
อดีตกาล Past tense อัชชัตตนี (อี อุํ …) กุมาโร ปูวํ ภุญฺชิ.
    ปโรกขา (อ อุ …) กุมาโร ปิตรํ อาห.
    หิยัตตนี (อา อู …) กุมาโร ปิตรํ อทฺทส.
อดีตกาลพิเศษ Unreal condition กาลาติปัตติ (สฺสา สฺสํสุ …) (สเจ) กุมาโร ปูวํ ภุญฺชิสฺส.
(กาลาติปัตติ กล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีต ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง และตรงข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว  เรียกตามแบบเรียนว่า ‘อนาคตของอดีต’)
คำสั่ง บังคับ ขอร้อง ... Imperative ... ปัญจมี (ตุ อนฺตุ ...) กุมาโร ปูวํ ภุญฺชตุ.
คำแนะนำ, รำพึง ... Advice ... สัตตมี (เอยฺย เอยฺยุํ ...) กุมาโร ปูวํ ภุญฺเชยฺย.

 

กาล

กาล คือ เวลา  หมายถึง เวลาที่ทำกิริยานั้นๆ

กาล โดยย่อมี 3  คือ

  1. ปัจจุบันกาล    คือ กาลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
  2. อดีตกาล    คือ กาลที่ล่วงแล้ว
  3. อนาคตกาล    คือ กาลที่ยังไม่มาถึง

กาลทั้ง 3 นี้  แบ่งให้ละเอียดออกไปอีก    ใช้วิภัตติ 8 หมวดเป็นเครื่องหมาย  ดังนี้

ปัจจุบันกาล แบ่งเป็น 3 คือ

  1. ปัจจุบันแท้  แปลว่า ...อยู่  เช่น  ภิกฺขุ ธมฺมํ เทเสติ. ภิกษุ แสดงอยู่ ซึ่งธรรม.
  2. ปัจจุบันใกล้อดีต  แปลว่า ย่อม...  เช่น  กุโต นุ ตฺวํ อาคจฺฉสิ?  ท่าน ย่อมมา แต่ที่ไหน หนอ?
  3. ปัจจุบันใกล้อนาคต  แปลว่า จะ...  เช่น  กึ กโรมิ?  ผม จะทำ ซึ่งอะไร?

ปัจจุบันกาลนี้ บอกให้รู้ด้วย วัตตมานาวิภัตติ

อดีตกาล แบ่งเป็น 3 คือ

  1. ล่วงแล้วไม่มีกำหนด  แปลว่า ...แล้ว  บอกให้รู้ด้วย ปโรกขาวิภัตติ  เช่น 
  • เตนาห ภควา.  ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้ว.
  • เตนาหุ โปราณา.  ด้วยเหตุนั้น พระอาจารย์มีในปางก่อน ท. กล่าวแล้ว.
  1. ล่วงแล้ววานนี้  แปลว่า ...แล้ว  ถ้ามี อ นำหน้า แปลว่า ได้...แล้ว  บอกให้รู้ด้วย หิยัตตนีวิภัตติ  เช่น
  • ขโณ โว มา อุปจฺจคา.  ขณะ อย่าได้เข้าไปล่วงแล้ว ซึ่งท่าน ท.
  • อหํ เอวํ อวจํ.  เรา ได้กล่าวแล้ว อย่างนี้.
  1. ล่วงแล้ววันนี้ แปลว่า ...แล้ว ถ้ามี อ นำหน้า แปลว่า ได้...แล้ว  บอกให้รู้ด้วย อัชชัตตนีวิภัตติ  เช่น
  • เถโร คามํ ปิณฺฑาย ปาวิสิ.  พระเถระ ได้เข้าไปแล้ว สู่บ้าน เพื่อบิณฑะ.
  • เอวรูปํ กมฺมํ อกาสึ.  ผม ได้ทำแล้ว ซึ่งกรรม มีอย่างนี้เป็นรูป.

อนาคตกาล แบ่งเป็น 2 คือ

  1. อนาคตของปัจจุบัน  แปลว่า จัก...  บอกให้รู้ด้วย ภวิสสันติวิภัตติ  เช่น
  • ธมฺมํ สุณิสฺสาม.   เรา ท. จักฟัง ซึ่งธรรม.
  1. อนาคตของอดีต  แปลว่า จัก...แล้ว  ถ้ามี อ นำหน้า แปลว่า จักได้...แล้ว  บอกให้รู้ด้วย กาลาติปัตติวิภัตติ  เช่น
  • โส เจ ยานํ อลภิสฺสา, อคจฺฉิสฺสา.   ถ้าว่า เขา จักได้ได้แล้ว ซึ่งยาน ไซร้,  เขา จักได้ไปแล้ว.

 

ปัญจมีวิภัตติ และ สัตตมีวิภัตติ ไม่บอกกาลอะไร แต่สงเคราะห์เข้าในปัจจุบันกาล

ปัญจมีวิภัตติ

  • บอกความบังคับ  แปลว่า จง...  เช่น   เอวํ วเทหิ.  เจ้า จงกล่าว อย่างนี้.
  • บอกความหวัง  แปลว่า ...เถิด  เช่น   สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ.  สัตว์ ท. ทั้งปวง เป็นผู้มีเวรหามิได้ เถิด.
  • บอกความอ้อนวอน  แปลว่า ขอ...จง  เช่น   ปพฺพาเชถ มํ ภนฺเต.  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่าน ท. ขอจงยังข้าพเจ้า ให้บวช.

สัตตมีวิภัตติ

  • บอกความยอมตาม  แปลว่า ควร...  เช่น   ภเชถ ปุริสุตฺตเม.  ชน ควรคบ ซึ่งบุรุษสูงสุด ท.
  • บอกความกำหนด  แปลว่า พึง...  เช่น   ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา.  ถ้าว่า บุรุษ พึงทำ ซึ่งบุญ ไซร้.
  • บอกความรำพึง  แปลว่า พึง...  เช่น   ยนฺนูนาหํ ปพฺพเชยฺยํ.  ไฉนหนอ เรา พึงบวช.

การใช้ปัญจมีวิภัตติ และ สัตตมีวิภัตติ

ปัญจมีวิภัตติ และ สัตตมีวิภัตติ ใช้ในอนุตตกาล (คือกาลใกล้ปัจจุบันกาล) หรือไม่ระบุกาล

ปัญจมีวิภัตติ สัตตมีวิภัตติ
อนุมติ อนุญาต แก่ผู้ที่ประสงค์จะทำ
  • ปุจฺฉตุ ภวํ ปญฺหํ.  ท่านผู้เจริญ  ขอจงถาม ซึ่งปัญหา.
อนุมติ อนุมัติ อนุญาต แก่ผู้ที่ประสงค์จะทำ ยอมตาม แนะนำ
  • ภเชถ ปุริสุตฺตเม.  ชน ควรคบ ซึ่งบุรุษ ผู้สูงสุดทั้งหลาย.
  • ตทา เอยฺยาสิ ขตฺติย.  ข้าแต่กษัตริย์ พระองค์ พึงเสด็จไปได้ในกาลนั้น.
  • โส คามํ คจฺเฉยฺย.   เขา ควรไป สู่หมู่บ้าน.
  • โส ปญฺหํ  ปุจฺเฉยฺย.   เขา พึงถามปัญหา
อาณตฺติ คำสั่ง บังคับ ให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • เอวํ วเทหิ.   เธอ จงกล่าว อย่างนี้.
  • สา คามํ คจฺฉตุ.  หล่อน จงไป สู่หมู่บ้าน.
  • ธมฺมํ โว เทเสสฺสามิ, ตํ สุณาถ
    เรา จักแสดง ซึ่งธรรม แก่เธอ ท., เธอ ท. จงฟัง ซึ่งธรรม นั้น.
  • เทวทตฺโต อิทานิ โอทนํ ปจตุ.  นายเทวทัต จงหุง ซึ่งข้าวสุก ในกาลนี้.

ยาจน ขอ อ้อนวอน ขอร้อง ให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เพื่อตน?)

  • ปพฺพาเชถ มํ ภนฺเต.  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่าน ขอจง ยังข้าพเจ้า  ให้บวช.
  • ททาหิ เม ปญฺจ คามวรานิ.  พระองค์ ขอจงให้ ซึ่งหมู่บ้านส่วย ท. 5 แก่เรา.
  • ททาหิ ปวรํ นาคํ.  พระองค์ ขอจงให้ ช้าง ตัวประเสริฐเถิด.
  • เอกํ เม นยนํ เทหิ.   ท่าน ขอจงให้ ซึ่งนัยน์ตา ข้างหนึ่ง แก่กระผม.

อาสีสน อาสิฏฺฐ ความหวัง ปรารถนา (เพื่อผู้อื่น)

  • สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ.  สัตว์ ท. ทั้งปวง เป็นผู้มีเวรหามิได้ เถิด.
  • อโรคา สุขิตา โหถ (สห สพฺเพหิ ญาติภิ)
    ท่าน ท. เป็นผู้ไม่มีโรค เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสุข เถิด.
  • ทีฆายุโก โหตุ อยํ กุมาโร.  เด็กนี้ เป็นผู้มีอายุยืน เถิด.
  • โส สุขี ภวตุ.  เขา เป็นผู้มีความสุข เถิด
ปริกปฺปตฺถ กำหนด คาดคะเน มักมีคำแสดง ‘เงื่อนไข’ เช่น สเจ เจ ยทิ เป็นต้น
  • ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา, กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ.   
    ถ้าว่า  บุรุษ  พึงทำ  ซึ่งบุญ ไซร้,  บุรุษ  พึงทำ บุญนั่น บ่อยๆ.
    (ถ้า…, ...)       (กยิราถ ในประโยคหลัง เป็นคำแนะนำ)
  • ยทิ โส ปฐมวเย ปพฺพเชยฺย,  อรหา ภเวยฺย.  
    ผิว่า เขา พึงบวช ในปฐมวัยไซร้,  เขา พึงเป็นพระอรหันต์.
  • กิมหํ กเรยฺยามิ.  ฉัน ควรทำ อย่างไร.
  • กาเย กิลนฺเต, จิตฺตํ โอหญฺเญยฺย. เมื่อกายลำบาก, จิตก็ฟุ้งซ่าน.

    (เมื่อ…, ก็...)

ปตฺถนา ปรารถนา (เพื่อตนเอง), อธิษฐาน
  • อยํ สุมนมาลา วิย นิพฺพตฺตฏฺฐาเน ปิยา โหมิ.  เรา เป็นผู้เป็นที่รัก ในที่แห่งตนเกิดแล้ว  ราวกะ พวงมะลิ นี้ เถิด.
ปตฺถนา รำพึง/ปรารถนา (เพื่อตนเอง)
  • อหํ สุขี ภเวยฺยํ.   เรา เป็นผู้มีความสุข พึงเป็น.
  • ยนฺนูนาหํ  ปพฺพเชยฺยํ.    ไฉนหนอ  เรา  พึงบวช.
  • ปรทารํ น คจฺเฉยฺยํ.  เรา ไม่ พึงถึง ซึ่งเมียของผู้อื่น.
สมฺปุจฺฉน ถาม
  • กึ นุ ขลุ โภ อภิธมฺมํ สุณามิ อุทาหุ วินยํ.
    ผมต้องฟังพระอภิธรรมหรือพระวินัยเรื่องใดหรือ?
สมฺปุจฺฉน ถาม ตั้งปัญหา
  • กึ นุ ขลุ โภ ธมฺมํ อชฺเฌยฺยํ อุทาหุ วินยํ.  ผม พึงเรียนธรรมหรือวินัย?
วิธิ บอก วิธีหรือแนวทางจัดแจง/จัดการ
  • อิธ ปพฺพโต โหตุ.  ภูเขา จงมี ในที่นี้.
  • ปุญฺญํ กโรตุ. บุคคล จงทำ ซึ่งบุญ.
  • อยํ ปาสาโท สุวณฺณมโย โหตุ.  
    ปราสาทนี้ จงเป็นปราสาทอันสำเร็จด้วยทอง.
วิธิ บอก วิธีหรือแนวทางจัดแจง/จัดการ
  • คามํ คจฺเฉยฺย.  เขา พึงไป สู่หมู่บ้าน.
  • โส โอทนํ ปเจยฺย.   เขา พึงหุง ข้าวสุก.
นิมนฺตน นิมนต์
  • อธิวาเสตุ เม ภนฺเต ภควา โภชนํ/ภตฺตํ.  
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค ขอจงนิมนต์รับอาหาร ของข้าพระองค์.
นิมนฺตน นิมนต์
  • อธิวาเสยฺย เม ภนฺเต ภควา โภชนํ.  
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค พึง/นิมนต์รับ อาหาร ของข้าพระองค์.
  • อิธ ภวํ ภุญฺเชยฺย.   ท่านผู้เจริญ พึงฉัน ในที่นี้.
อชฺฌิฏฺฐ/อชฺเฌสน เชื้อเชิญ
  • เทเสตุ ภนฺเต ภควา ธมฺมํ.   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค ขอจง/ขอเชิญ แสดง ซึ่งพระธรรม.
อชฺฌิฏฺฐ/อชฺเฌสน เชื้อเชิญ
  • เทเสยฺย ภนฺเต ภควา ธมฺมํ.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พระผู้มีพระภาค ขอเชิญแสดง พระธรรม.
  • อชฺฌาเปยฺย มาณวกํ.   เขา พึงสอน ซึ่งมาณพ.
อามนฺตน ร้องเรียก
  • อาคจฺฉตุ ภวํ.   ท่าน จงมาเถอะ.
อามนฺตน ร้องเรียก
  • อิธ ภวํ นิสีเทยฺย.  ท่านผู้เจริญ พึงนั่ง ในที่นี้.
อกฺโกส ด่า แช่ง
  • โจรา ตํ ขณฺฑาขณฺฑิกํ ฉินฺทนฺตุ.  โจร ท. จงตัด เจ้า เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย.

สปถ สบถ ด่า แช่ง

  • เอกิกา สยเน เสตุ, ยา เต อมฺเพ อวาหริ. 
    หญิงที่ลักมะม่วง ท. ของท่าน ขอจงนอนบนที่นอน คนเดียว. (แช่งให้ไม่มีสามี)
 
 
สัททนีติ
 
เปส คำสั่ง
  • ภวํ ขลุ กฏํ กโรตุ.  เธอ จงทำ เสื่อ.
เปส คำสั่ง
  • ภวํ ขลุ กฏํ กเรยฺย.  เธอ พึงทำ เสื่อ.
อติสคฺค ชี้แจง แนะนำ
  • ภวํ ขลุ ปุญฺญํ กโรตุ.   เธอ ต้องทำ บุญ.
อติสคฺค ชี้แจง แนะนำ
  • ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ.  
    พวกเธอ พึงทำ บุญ ท. อันนำความสุขมาให้.
ปตฺตกาล เตือนถึงเวลา
  • สมฺปตฺโต เต กาโล กฏกรเณ.  กฏํ กโรตุ ภวํ.  
    เวลา ในการกระทำเสื่อ ของท่าน ถึงพร้อมแล้ว. ท่านผู้เจริญ จงกระทำ เสื่อ.
ปตฺตกาล เตือนถึงเวลา
  • สมฺปตฺโต เต กาโล กฏกรเณ.  กฏํ กเรยฺย ภวํ.  
    เวลา ในการกระทำเสื่อ ของท่าน ถึงพร้อมแล้ว. ท่านผู้เจริญ พึงกระทำ เสื่อ.
  • อยํ เต สจฺจกาโล,  สจฺจํ วเทยฺยาสิ
    นี้ เป็นเวลาแห่งความสัตย์จริง ของท่าน,  ท่าน พึงกล่าว จริง.

 

บท

บท แบ่งเป็น 2 คือ

1. ปรัสสบท บทเพื่อผู้อื่น กิริยาอาขยาตที่ประกอบด้วยวิภัตติบทนี้ เป็นกิริยาของประธาน ที่ส่งผลแก่ผู้อื่น เช่น

  • ชโน กุมารํ ปหรติ - ชน ตี เด็ก   
    ชโน เป็นประธานของกิริยาตี คือ ปหรติ ส่งผลต่อเด็ก คือ กุมารํ

2. อัตตโนบท บทเพื่อตน กิริยาอาขยาตที่ประกอบด้วยวิภัตติบทนี้ เป็นกิริยาของประธาน ที่ส่งผลต่อประธานเอง เช่น

  • ชเนน กุมาโร ปหริยเต - เด็ก อันชน ตี   
    กุมาโร เป็นประธานของกิริยาตี คือ ปหริยเต ซึ่งส่งผลต่อประธาน คือตัวเด็กเอง

ปรัสสบท เป็นเครื่องหมาย กัตตุวาจก และ เหตุกัตตุวาจก
อัตตโนบท เป็นเครื่องหมาย กัมมวาจก ภาววาจก และ เหตุกัมมวาจก

แต่บทในกิริยาอาขยาตนั้น ใช้เป็นเครื่องหมายวาจกไม่ได้แน่นอนเหมือนปัจจัย 
เพราะใช้ปรัสสบทแทนอัตตโนบทใช้ในประโยคกัมมวาจกก็มี ใช้อัตตโนบทแทนปรัสสบทในประโยคกัตตุวาจกก็มี

 

วจนะ

วจนะในกิริยาอาขยาต แบ่งเป็น 2 เช่นเดียวกับวจนะของนามศัพท์
เมื่ออยู่ในประโยค ประกอบกิริยาอาขยาต ให้มีวจนะตรงกับวจนะของประธาน (เพื่อให้เข้าคู่กัน)  เช่น

โส คจฺฉติ.   เขา จะไป.
เต คจฺฉนฺติ.  เขา ท. จะไป.

เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นกิริยาอาขยาตเป็นเอกวจนะ ก็แสดงว่าประธานเป็นเอกวจนะด้วย เป็นต้น

ถ้าในประโยคนั้น ประธาน มีหลายศัพท์ และกล่าวรวมกัน ด้วย จ ศัพท์ (แปลว่า ‘ด้วย’, ‘และ’)
ในประโยคเช่นนั้น ต้องประกอบกิริยาให้เป็นพหุวจนะเสมอ (ไม่ว่าประธานเหล่านั้นจะเป็นวจนะอะไร)

  • อุปาสโก จ  อุปาสิกา จ  อารามํ คจฺฉนฺติ.  อุบาสก ด้วย อุบาสิกา ด้วย จะไป สู่วัด.

แต่ถ้าประธานมีหลายศัพท์ และเป็นเอกวจนะทั้งหมด กล่าวแยกกัน ด้วย วา ศัพท์ (แปลว่า ‘หรือ’) ให้ประกอบกิริยาเป็นเอกวจนะตามปกติ

  • อุปาสโก วา  อุปาสิกา วา  อารามํ คจฺฉติ.  อุบาสก หรือ หรือว่า อุบาสิกา จะไป สู่วัด.

 

บุรุษ

ในอาขยาต จัดบุรุษเป็น 3 เหมือนสัพพนาม คือ ปฐมบุรุษ มัชฌิมบุรุษ และ อุตตมบุรุษ

  1. ปฐมบุรุษ ใช้ นามนาม หรือ ปุริสสัพพนาม คือ ศัพท์ เป็นประธาน
  2. มัชฌิมบุรุษ ใช้ ปุริสสัพพนาม คือ ตุมฺห ศัพท์ เป็นประธาน
  3. อุตตมบุรุษ ใช้ ปุริสสัพพนาม คือ อมฺห ศัพท์ เป็นประธาน

วิภัตติอาขยาต ต้องแจกให้ตรงกับ บุรุษ และ วจนะ ของประธาน ดังนี้

  เอกวจนะ   พหุวจนะ  
ปฐมบุรุษ ปุริโส/อิตฺถี/กุลํ,
โส, สา, ตํ

วนฺทติ.

ปุริสา/อิตฺถิโย/กุลานิ
เต, ตา, ตานิ

วนฺทนฺติ.

มัชฌิมบุรุษ ตฺวํ วนฺทสิ ตุมฺเห วนฺทถ.
อุตตมบุรุษ อหํ วนฺทามิ. มยํ วนฺทาม.

สำหรับปุริสสัพพนามที่เป็นประธาน จะละไว้ เขียนไว้แต่กิริยาอาขยาต (ที่บอกบุรุษและวจนะ) ก็ได้ เช่น

  • (ตฺวํ) เอวํ วเทหิ.   (เจ้า) จงกล่าว อย่างนี้
  • (ตุมฺเห) คจฺฉถ ภนฺเต.   ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (ท่าน ท.) ไปเถิด
  • (ตฺวํ) อตฺตโน ปมาณํ น ชานาสิ.   (เจ้า) ย่อมไม่รู้ ซึ่งประมาณ ของตน

การใช้พหุวจนะ ในมัชฌิมบุรุษ เพื่อแสดงความเคารพ*

ถ้าผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ แม้ผู้ใหญ่นั้นจะเป็นบุคคลๆ เดียว ก็ใช้วิภัตติอาขยาต มัชฌิมบุรุษ พหุวจนะได้ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ 
เช่น ภิกษุกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า

  • (ตุมฺเห) ธมฺมํ เทเสถ ภนฺเต.   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ (ท.) ขอจงแสดง ซึ่งธรรม. 

* สำนวนที่แสดงความเคารพแบบนี้ จะไม่แปลเป็นพหุวจนะก็ได้  เช่น พระองค์ ขอจงแสดง ซึ่งธรรม.

บุรุษของกิริยาอาขยาต เมื่อมีประธานหลายตัว ควบด้วย จ ศัพท์

ประธาน มีหลายศัพท์ กล่าวรวมกัน ด้วย จ ศัพท์ ต้องประกอบกิริยาให้เป็นพหุวจนะเสมอ  และประกอบบุรุษของกิริยาอาขยาต ตามบุรุษที่อยู่ในลำดับท้ายสุด เรียงตามลำดับดังนี้ 1) ปฐมบุรุษ 2) มัชฌิมบุรุษ 3) อุตตมบุรุษ เช่น

  • อหเมว ตวญฺจ ชานาม.  ในประโยคนี้มี มัชฌิมบุรุษและอุตตมบุรุษ จึงประกอบกิริยาเป็นอุตตมบุรุษ คือ ชานาม

 

ปัจจัย

ปัจจัยใช้ลงท้ายธาตุ เพื่อบอกวาจก

ปัจจัยแบ่งเป็น 5 หมวด ตามวาจก ดังนี้

  • กัตตุวาจก ลงปัจจัย 10 ตัว คือ  อ (เอ) ย ณุ-ณา นา ณฺหา โอ เณ-ณย
  • กัมมวาจก ลง ปัจจัย กับ อิ อาคมหน้า ย
  • ภาววาจก ลงปัจจัย (และ เต วัตตมานา)
  • เหตุกัตตุวาจก ลงปัจจัย 4 ตัว คือ เณ ณย ณาเป ณาปย
  • เหตุกัมมวาจก ลงปัจจัย 10 ตัวนั้นด้วย ลงเหตุปัจจัยคือ ณาเป ด้วย ลง ปัจจัยกับทั้ง อิ อาคม หน้า ย ด้วย (มีรูปเป็น -าปิย)

การลงปัจจัยหลังธาตุ ตามวาจกทั้ง 5

กัตตุวาจก ลงปัจจัย 10 ตัว คือ  อ (เอ) ย ณุ-ณา นา ณฺหา โอ เณ-ณย

หมวด ภู ธาตุ  ลง อ ปัจจัย
ธาตุพยางค์เดียว  (ธาตุสระเดียว - เอกสฺสรธาตุ)

  • ลงธาตุพยางค์เดียว เป็น อิ อี  พฤทธิ์เป็น เอ  (หรือ)แปลง เอ เป็น อย (ต่อไป)  เช่น  เสติ สยติ (สี อ ติ),  เนติ นยติ (นี อ ติ)
  • ลงธาตุพยางค์เดียว เป็น อุ อู พฤทธิ์เป็น โอ  (หรือ)แปลง โอ เป็น อว (ต่อไป)  เช่น  โหติ (หุ อ ติ),  ภวติ (ภู อ ติ)

ธาตุหลายพยางค์  (ธาตุหลายสระ - อเนกสฺสรธาตุ)

  • ลงธาตุหลายพยางค์ สระต้นธาตุเป็น อิ ให้พฤทธิ์เป็น เอ  (ไม่แปลง เอ เป็น อย)  เช่น 
    เอสติ (อิส อ ติ) ย่อมแสวงหา  เอสนฺติ (อิส อ อนฺติ) ย่อมแสวงหา  
  • ลงธาตุหลายพยางค์ สระต้นธาตุเป็น อุ ให้พฤทธิ์เป็น โอ  (ไม่แปลง โอ เป็น อว)  เช่น
    อกฺโกสติ (อา กุส อ ติ) ย่อมด่า  อกฺโกสิสฺสติ (อา กุส อ อิ สฺสติ) จักด่า

การแปลงในธาตุและ/หรือหมวดวิภัตติต่างๆ

  • แปลง อ ปัจจัยเป็น เอ บ้าง  เช่น  วทติ วเทติ (วท อ ติ) ย่อมกล่าว  เทติ (ทา อ ติ) ย่อมให้  อุฏฺเฐหิ (อุ ฐา อ หิ) จงยืนขึ้น
  • หิ มิ ม ปัญจมี-วัตตมานา  ทีฆะ อ ข้างหน้าเป็น อา เสมอ เช่น  
  • อาหราหิ (อา หร อ หิ) จงนำมา    ลภามิ ลภาม (ลภ อ มิ-ม) ย่อมได้    มราม (มร อ ม) ย่อมตาย
  • หิ ปัญจมี ลงแล้วลบได้บ้าง เช่น  ปจ (ปจ อ หิ) จงหุง (=ปจาหิ)   วท (วท อ หิ) จงกล่าว
  • แปลง อุํ อัชชัตตนี เป็น อํสุ อึสุ ได้  (มักแปลงเป็น อึสุ)  เช่น  อคมํสุ อคมึสุ (อ คมุ อ อุํ) ได้ไปแล้ว
  • เฉพาะ คมุ ธาตุ  แปลง คมุ เป็น คจฺฉ ได้ เช่น 
    คจฺฉติ (คมุ อ ติ) ย่อมไป   คมิสฺสติ (คมุ อ อิ สฺสติ) จักไป  อคมาสิ (อ คมุ อ สฺ อี) ได้ไปแล้ว  (ทีฆะ อ ปัจ. เป็น อา)  
  • เฉพาะ คมุ ธาตุ ในหมวดอัชชัตตนี แปลง คจฺฉ เป็น คญฺฉ ได้อีก เช่น  อคญฺฉิ (อ คมุ อ อี) ได้ไปแล้ว (= อคมิ)
  • เฉพาะ คมุ ธาตุ ในหมวดอัชชัตตนี  แปลง คมุ เป็น คา ได้บ้าง เช่น  อชฺฌคา (อธิ อ คมุ อ อึ) ได้ถึงทับแล้ว (ลบ อึ)
  • เฉพาะ ลภ ธาตุ เมื่อลง อี อึ ในหมวดอัชชัตตนี แปลงเป็น ตฺถ ตฺถํ ตามลำดับ แล้วลบที่สุดธาตุ บ้าง
      แปลง อี เป็น ตฺถ  เช่น อลตฺถ (อ ลภ อ อี) ได้ได้แล้ว (= อลภิ)
      แปลง อึ เป็น ตฺถํ  เช่น อลตฺถํ (อ ลภ อ อึ) ได้ได้แล้ว (= อลภึ)
  • เฉพาะ วจ ธาตุ ในหมวด หิยัตตนี อัชชัตตนี  แปลง อ ที่ ว เป็น โอ
    อโวจ (อ วจ อ อา) ได้กล่าวแล้ว (= อวจา  อา หิยัตตนี  รัสสะ อา เป็น อ)
    อโวจิ (อ วจ อ อี) ได้กล่าวแล้ว (= อวจิ  อี อัชชัตตนี)
  • เฉพาะ กุส ธาตุ ลง อี อัชชัตตนี  ให้แปลง อี เป็น จฺฉิ แล้วลบที่สุดธาตุ  เช่น อกฺโกจฺฉิ (อ กุส อ อี) ได้ด่าแล้ว (= อกฺโกสิ ซ้อน กฺ)
  • เฉพาะ ทิส ธาตุ แปลงเป็น ปสฺส ทิสฺส ทกฺข  เช่น  
    ปสฺสติ (ทิส อ ติ) ย่อมเห็น   ทกฺขติ (ทิส อ ติ) ย่อมเห็น   ทิสฺสติ (ทิส อ ติ) ย่อมปรากฏ
  • เฉพาะ สท ธาตุ ‘จม’ มี นิ เป็นบทหน้า  แปลง สท เป็น สีท เช่น   นิสีทติ (นิ สท อ ติ) ย่อมนั่ง     นิสีทิ (นิ สท อ อี) นั่งแล้ว
  • เฉพาะ ฐา ธาตุ แปลง ฐา เป็น ติฏฺฐ เช่น ปติฏฺฐหิ (ป ฐา อ หฺ อี) ตั้งแล้ว ติฏฺฐติ (ฐา อ ติ) ย่อมยืน
  • เฉพาะ ทา ธาตุ ถ้าลง มิ ม  แปลง อา เป็น อํ   แล้วแปลง อํ เป็น มฺ บ้าง  เช่น  ทมฺมิ (ทา อ มิ) ย่อมให้ (= เทมิ)
  • หมวดภวิสสันติ แปลง อ กับ สฺส เป็น   (ไม่ลง อิ อาคม)  เช่น  ลจฺฉติ (ลภ อ สฺสติ) จักได้ (= ลภิสฺสติ)
  • หมวดภวิสสันติ แปลง อ กับ สฺส เป็น ข  แล้วแปลงที่สุดธาตุเป็น กฺ  (ไม่ลง อิ อาคม)  เช่น
    วกฺขติ (วจ อ สฺสติ) จักกล่าว (= วจิสฺสติ)     โมกฺขติ (มุจ อ สฺสติ) จักปล่อย, จักพ้น (= มุจฺจิสฺสติ)
    โภกฺขติ (ภุช อ สฺสติ) จักกิน (= ภุญชิสฺสติ)

หมวด รุธ ธาตุ  ลง อ ปัจจัย (และนิคคหิตอาคมที่สระต้นธาตุ)

  • ลง อ ปัจจัยแล้ว มีวิธีการเหมือนในหมวด ภู ธาตุ  และลงนิคคหิตอาคมที่สระต้นธาตุ แล้วแปลงเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค
    รุนฺธติ (รุํธ อ ติ) ย่อมปิด    ภุญฺชติ (ภุํช อ ติ) ย่อมกิน    ลิมฺปติ (ลิ ํป อ ติ) ย่อมฉาบ
    มุญฺจติ (มุํจ อ ติ) ย่อมปล่อย    อยุญฺชิ (อ ยุํช อ อี) ได้ประกอบแล้ว     ภุญฺชิสฺส (ภุํช อ อิ สฺสา) จักกินแล้ว

หมวด ทิว ธาตุ  ลง ย ปัจจัย

  • หลังธาตุที่ลงท้ายด้วย  แปลง ย เป็น ว  แล้วแปลง วฺว เป็น พฺพ เช่น  ทิพฺพติ (ทิว ย ติ) ย่อมเล่น  สิพฺพติ (สิว ย ติ) ย่อมเย็บ
  • หลังธาตุที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะในวรรค ก ฏ ป (วรรคที่ 1 3 5)  และ ย ล ส  แปลง เป็นบุพพรูป คือเหมือนตัวหน้า ย
    สกฺกติ (สก ย) ย่อมอาจ-สามารถ    กุปฺปติ (กุป ย) ย่อมโกรธ    ตปฺปติ (ตป ย) ย่อมเดือดร้อน
    ลุปฺปติ (ลุป ย) ย่อมลบ    สปฺปติ (สป ย) ย่อมแช่ง    ทิปฺปติ (ทิป ย) ย่อมสว่าง, รุ่งเรือง
    ขุภฺภติ > ขุพฺภติ (ขุภ ย) ย่อมหวั่นไหว (แปลงเป็นพยัญชนะตัวที่ 3)
    ลุภฺภติ > ลุพฺภติ (ลุภ ย) ย่อมโลภ (แปลงเป็นพยัญชนะตัวที่ 3)
    อารพฺภติ (อา รภ ย) ย่อมปรารภ, เริ่ม    สมฺมติ (สม ย) ย่อมสงบ    ตุสฺสติ (ตุส ย) ย่อมยินดี
    มุสฺสติ (มุส ย) ย่อมลืม    ทุสฺส (ทุส ย) ย่อมทำลาย, ประทุษร้าย    นสฺสติ (นส ย) ย่อมฉิบหาย, พินาศ
    สุสฺสติ (สุส ย) ย่อมแห้ง, เหี่ยว, ผอม, ซูบซีด    กิลิสฺสติ (กิลิส ย) ย่อมเศร้าหมอง    ปุสฺสติ (ปุส ย) ย่อมเลี้ยงดู
    ตสฺสติ (ตส ย) ย่อมกลัว, หวาดกลัว, สะดุ้งกลัว    สิสฺสติ (สิส ย) ย่อมเหลือ
  • หลังธาตุที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะในวรรค จ ต  (วรรคที่ 2 4) แปลง ย กับพยัญชนะนั้นเป็นพยัญชนะในวรรค จ  ในลำดับที่ตรงกับพยัญชนะนั้น แล้วซ้อนพยัญชนะ
  1 2 3 4 5
วรรค จ กับ ย ญย
วรรค ต กับ ย
แปลงเป็นวรรค จ
ซ้อนพยัญชนะ จฺ จฺ ชฺ ชฺ ญฺ
  • หลังธาตุที่ลงท้ายด้วย   ให้สลับตำแหน่งกับ (เฉพาะพยัญชนะ - ส่วนสระยังอยู่ที่เดิม)
    สนฺนยฺหติ (สํ นห ย ติ) ย่อมผูกสอด  มุยฺหติ (มุห ย ติ) ย่อมหลง  ปสยฺหติ (ป สห ย ติ) กดขี่, ข่มเหง   สยฺหติ (สห ย ติ) อดทน, อดกลั้น
  • เฉพาะ ทา ธาตุ  แปลง อา เป็น อิ  เช่น    สมาทิยามิ (สํ อา ทา ย มิ) ย่อมสมาทาน  สมาทิยติ (สํ อา ทา อิ ย ติ) ย่อมสมาทาน
  • เฉพาะ ชน ธาตุ ‘เกิด’  แปลง ชน เป็น ชา  เช่น   ชายติ (ชน ย ติ) ย่อมเกิด

หมวด สุ ธาตุ  ลง ณุ ณา อุณา ปัจจัย

  • ณุ ปัจจัย  แปลง อุ เป็น โอ  เช่น  สุโณติ (สุ ณุ ติ) ย่อมฟัง
  • ณา อุณา ลงหน้าวิภัตติที่ขึ้นต้นด้วยสระ ให้ลบ อา ที่ ณา  เช่น  สุณาติ (สุ ณา ติ) ย่อมฟัง     
    สุณนฺติ (สุ ณา อนฺติ) ย่อมฟัง    ปาปุณาติ (ป อป อุณา ติ) ย่อมบรรลุ     ปาปุณนฺติ (ป อป อุณา อนฺติ) ย่อมบรรลุ
  • ลงวิภัตติหมวดอัชชัตตนีหรืออื่นๆ ที่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือลง อิ อาคม   ถ้าลบ ณา ปัจจัย ให้พฤทธิ์ อุ เป็น โอ  ลง สฺ อาคม
    อสฺโสสิ (อ สุ ณา สฺ อี) ได้ฟังแล้ว = อสุณิ (อ สุ ณา อี)
    โสสฺสามิ (สุ ณา สฺสามิ) จักฟัง = สุณิสฺสามิ (สุ ณา อิ สฺสามิ)
  • สก ธาตุ ‘อาจ, สามารถ’ ลงในหมวดอัชชัตตนี  ให้แปลง กฺ เป็น ขฺ   ซ้อนพยัญชนะ  ลบ อุณา ปัจจัย
    อสกฺขิ (อ สก อุณา อี) ได้อาจแล้ว     สกฺกุเณยฺย (สก อุณา เอยฺย) พึงอาจ

หมวด กี ธาตุ  ลง นา ปัจจัย

  • เฉพาะ กี ธาตุ ลง นา ปัจจัย  รัสสะ อี เป็น อิ  แปลง นฺ เป็น ณฺ  เช่น  วิกฺกิณาติ (วิ กี นา ติ) ย่อมขาย
  • นา ปัจจัย ลงหน้าวิภัตติที่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือลง อิ อาคม ให้ลบสระหน้า
    กีเณยฺย (กี นา เอยฺย) พึงซื้อ     วิกฺกีณิสฺสติ (วิ กี นา อิ สฺสติ) จักขาย
  • ลบ นา ปัจจัยได้บ้าง หรือแปลง นา เป็น  เช่น
      1) ลง เอยฺย แล้วแปลง เอยฺย เป็น ญา  ต้องลบ นา  ไม่ลบไม่ได้ เช่น ชญฺญา (ญา นา เอยฺย) พึงรู้
      2) ลงอัชชัตตนี ลบหรือไม่ลบ นา ก็ได้ เช่น  สญฺชานิ (สํ ญา นา อี) รู้  อญฺญาสิ (อ ญา นา สฺ อี) ได้รู้แล้ว
      3) นา ปัจจัย ที่มี ติ อยู่หลัง แปลงเป็น   เช่น  วินายติ (วิ ญา นา ติ) ย่อมรู้วิเศษ
  • ญา ธาตุ ในหมวด กี ธาตุ แปลงเป็น ชา ชํ นา ได้บ้าง
      แปลง ญา เป็น ชา  ต้องมี นา อยู่หลัง เช่น  วิชานาติ (วิ ญา นา ติ) ย่อมรู้แจ้ง
      แปลง ญา เป็น ชํ  ต้องมี ญา ที่แปลงมาจาก เอยฺย อยู่หลัง เช่น  ชญฺญา (ญา นา เอยฺย) พึงรู้   วิชาเนยฺย (วิ ญา นา เอยฺย) พึงรู้
      แปลง ญา เป็น นา ต้องลง ติ เท่านั้น เช่น  วินายติ (วิ ญา นา ติ) ย่อมรู้วิเศษ  วิชานาตุ (วิ ญา นา ตุ) จงรู้วิเศษ

หมวด คห ธาตุ  ลง ณฺหา ปัจจัย

  • คห ธาตุ  ลง ณฺหา แล้วลบ หฺ ที่สุดธาตุเสมอ
  • คห ธาตุ ลง ปฺป  แปลง คห เป็น เฆ เช่น  เฆปฺปติ (คห ปฺป ติ) ย่อมถือเอา
  • ณฺหา ปัจจัย ลงหน้าวิภัตติที่ไม่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือลง อิ อาคม ให้ลบสระหน้า เช่น 
    คณฺหิ (คห ณฺหา อี) ถือเอาแล้ว     คณฺหิสฺสติ (คห ณฺหา อิ สฺสติ) จักถือเอา
  • ปัจจัยประจำหมวดธาตุ ลงแล้วไม่เห็นรูป พึงทราบว่าลงแล้วลบได้  เช่น 
    อคฺคเหสิ (อ คห ณฺหา อิ สฺ อี) ได้ถือเอาแล้ว    คณฺเหยฺย (คห ณฺหา เอยฺย) พึงถือเอา  (ไม่ลบ ณฺหา)

หมวด ตน ธาตุ  ลง โอ ยิร ปัจจัย

  • หลัง ตน ธาตุ  แปลง โอ เป็น อุ ได้ เช่น  ตโนติ ตนุติ (ตน โอ ติ) ย่อมแผ่ไป
  • กร ธาตุ ลง โอ ปัจจัย แปลง โอ เป็น อุ,  แปลง อ ที่ กฺ เป็น อุ แปลง อุ เป็น ว,  ลบ รฺ ที่สุดธาตุ, ซ้อน วฺ, แปลง วฺว เป็น พฺพ  เช่น  กุพฺพนฺติ (กร โอ ติ) ย่อมทำ  
  • กร ธาตุ ลง ยิร ปัจจัย  ลบ รฺ ที่สุดธาตุ  เช่น  กยิรติ (กร ยิร ติ) ย่อมทำ
  • นอกจากหมวดวัตตมานา ปัญจมี ลงแล้วลบ โอ ปัจจัยได้  เช่น กเรยฺย (กร โอ เอยฺย) พึงทำ  อกริ (อ กร โอ อี) ทำแล้ว
  • ยิร ปัจจัย ลงหลัง กร ธาตุ กับ เอยฺย เอถ วิภัตติ  ให้แปลง เอยฺย เป็น อา   แปลง เอ แห่ง เอถ เป็น อา  แล้ว ลบ รฺ ที่สุดธาตุได้บ้าง เช่น
    กยิรา (กร ยิร เอยฺย) พึงทำ     กยิราถ (กร ยิร เอถ) พึงทำ
  • กร ธาตุ ลง อา หิยัตตนี แปลง กร เป็น กา ได้ เช่น  อกา (อ กร โอ อา) ได้ทำแล้ว  อกริมฺหา (อ กร โอ อิ มฺหา) ได้ทำแล้ว
  • กร ธาตุ ลงวิภัตติหมวดอัชชัตตนี แปลง กร เป็น กาสฺ ได้ เช่น  อกาสิ (อ กร โอ อี) ได้ทำแล้ว อกรึสุ (อ กร โอ อุํ) ได้ทำแล้ว
    หรือ แปลง กร เป็น กา ลง สฺ อาคม เช่น  อกาสิ (อ กร โอ สฺ อี)
  • กร ธาตุ ลงวิภัตติหมวดภวิสสันติ แปลง กร ทั้งปัจจัย เป็น กาห และ ลบ สฺส  เช่น กาหิติ (กร โอ อิ สฺสติ) จักทำ  กริสฺสติ (กร โอ อิ สฺสติ) จักทำ  (ลบ โอ)
  • กร ธาตุ มี สํ เป็นบทหน้า แปลง กร เป็น ขร  เช่น อภิสงฺขโรติ (อภิ สํ กร โอ ติ) ย่อมตกแต่ง
  • หลังธาตุอื่นๆ (ในหมวดนี้) เช่น สกฺโกติ (สก โอ ติ) ย่อมอาจ  ปปฺโปติ (ป อป โอ ติ) ย่อมถึง  (ซ้อน ปฺ กลางธาตุ)

หมวด จุร ธาตุ  ลง เณ ณย ปัจจัย

ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ มีอำนาจให้พฤทธิ์ต้นธาตุได้ และลบ ณฺ แห่งปัจจัยเหล่านี้เสีย
พฤทธิ์ = วุทฺธิ (วุฑฺฒิ) ทำให้เจริญ คือทำให้เป็น 2 ฐาน หรือเสียงยาวขึ้น

อ       เกิดจากฐานคอ            เป็น อา ทำให้เสียงยาวขึ้น  (พฤทธิ์ อ เป็น อา ได้เฉพาะปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ เท่านั้น)
อิ อี    เกิดจากฐานเพดาน       เป็น เอ (ฐานเพดานและคอ)
อุ อู    เกิดจากฐานริมฝีปาก     เป็น โอ (ฐานริมฝีปากและคอ)

วิธีพฤทธิ์ (วุทธิ)
ธาตุพยางค์เดียว พฤทธิ์ อิ อี เป็น เอ,  พฤทธิ์ อุ อู เป็น โอ
ธาตุหลายพยางค์ พฤทธิ์สระต้นธาตุ ที่เป็นรัสสะ และไม่มีพยัญชนะสังโยค (คือตัวสะกด)
  ให้พฤทธิ์ อิ เป็น เอ,  อุ เป็น โอ,  อ เป็น อา 
(ยกเว้น ไม่พฤทธิ์ธาตุเหล่านี้ คือ กถ กล่าว พูด  กส ไถ  โอ-กิร เกลี่ยลง  ขิป ทิ้ง ขว้าง โยน  ขน ขุด  ขม อดทน  คณ นับ  ฆฏ รวมกัน  วิ-จิ นา คัดเลือก  ชน เกิด 
ชิร แก่เก่า คร่ำคร่า  ฐป วาง ตั้ง สกมฺม. อตฺถร (อา-ถร) ปูลาด  ทม ฝึก  ปริ-ทห  นุ่งห่ม   โอ-นม น้อมลง   นหา/นฺหา อาบ  ภณ กล่าว  รช ย้อม  รม ยินดี  ลิข เขียน วิ-วร เปิด  วส อยู่  สมุ สงบ  หน ฆ่า, เบียดเบียน  หร นำไป   เฉพาะ คม ไป ไม่พฤทธิ์ก็ได้)

  • อิ อาคม (ที่ใช้ลงในวิภัตติหมวดปโรกขา อัชชัตตนี ภวิสสันติ กาลาติปัตติ)  ให้ลงเฉพาะที่ลง ณย ปัจจัยเท่านั้น
    โจเรติ โจรยติ (จุร เณ-ณย ติ) ย่อมลัก    เวเทติ เวทยติ (วิท เณ-ณย ติ) ย่อมรู้    เจเตติ เจตยติ (จิต เณ-ณย ติ) ย่อมคิด
    ฌาเปติ ฌาปยติ (ฌป เณ-ณย ติ) ย่อมเผา     ปญฺญาเปติ (ป ญป เณ ติ) ย่อมปูลาด    ปญฺญาปยิสฺสติ (ป ญป ณย อิ สฺสติ) จักปูลาด    
    ปาเหติ ปาหยติ  (ปห เณ-ณย ติ) ย่อมส่งไป    โปเสติ โปสยติ (ปุส เณ-ณย ติ) ย่อมเลี้ยงดู    อุยฺโยเชสิ (อุ ยุช เณ สฺ อี) ส่งไปแล้ว   
    ปาเลติ ปาลยติ (ปาล เณ-ณย ติ) ย่อมรักษา    ปาลยิสฺสติ (ปาล ณย อิ สฺสติ) จักรักษา
  • เป็นทีฆะ ไม่พฤทธิ์
    อภิปูเชติ อภิปูชยติ (อภิ ปูช เณ-ณย ติ) ย่อมบูชา    สูเจติ สูจยติ (สูจ เณ-ณย ติ) ย่อมไขความ  ภาเชติ ภาชยติ (ภาช เณ-ณย ติ) ย่อมแบ่ง    
  • มีสังโยค  ไม่พฤทธิ์
    มนฺเตสฺสติ มนฺตยิสฺสติ (มนฺต เณ-ณย สฺสติ) จักปรึกษา    ปตฺเถติ ปตฺถยติ (ปตฺถ เณ-ณย ติ) ย่อมปรารถนา
  • ธาตุหมวด จุร ที่มี อิ เป็นที่สุด ให้ลงนิคคหิตอาคม แปลงเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค มีรูปเป็นสังโยค ไม่ต้องพฤทธิ์
    มณฺเฑติ มณฺฑยติ (มฑิ เณ-ณย ติ) ย่อมหัวเราะ    ภณฺเชติ ภณฺชยติ (ภชิ เณ-ณย ติ) ย่อมรุ่งเรือง
  • ยกเว้นบางธาตุ ไม่พฤทธิ์
    คเณติ คณยติ (คณ เณ-ณย ติ) ย่อมนับ     ฆเฏติ ฆฏยติ (ฆฏ เณ-ณย ติ) ย่อมกระทบ    
    กเถติ กถยติ (กถ เณ-ณย ติ) ย่อมกล่าว     กเถสิ กถยึสุ (กถ เณ-ณย สฺ อี) กล่าวแล้ว

กัมมวาจก ใช้สกัมมธาตุอย่างเดียว

ธาตุพยางค์เดียว

  • ธาตุพยางค์เดียว เป็น อา ให้ลง ปัจจัย  แปลง อา เป็น อี  (ไม่ลง อิ อาคม)
    ทียเต (ทา ย เต) ย่อมให้     ปียเต (ปา ย เต) ย่อมดื่ม
  • ธาตุพยางค์เดียว เป็น อิ อี อุ อู และ อี (ที่แปลงมาจาก อา นั้น)  ให้ซ้อน ยฺ หรือ ทีฆะ (ไม่ลง อิ อาคม)
    สุยฺยเต (สุ ย เต) ย่อมฟัง     สูยเต (สุ ย เต) ย่อมฟัง (ทีฆะ)    อนุภูยฺยเต (อนุ ภู ย เต) ย่อมครอบงำ   ทียฺยเต (ทา ย เต) ย่อมให้

ธาตุหลายพยางค์

  • ธาตุหลายพยางค์ ลง ปัจจัย และ อิ อาคมหน้า ย   (หมวด รุธ ธาตุ ลงนิคคหิตอาคม แปลงเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคด้วย)
    กริยเต (กร อิ ย เต) ย่อมทำ     ปจิยเต (ปจ อิ ย เต) ย่อมหุง    ลภิยเต (ลภ อิ ย เต) ย่อมได้
    มุญฺจิยเต (มุํจ อิ ย เต) ย่อมปล่อย     ภินฺทิยเต (ภิ ํท อิ ย เต) ย่อมทำลาย    ภุญฺชิยเต (ภุํช อิ ย เต) ย่อมกิน
  • ธาตุหลายพยางค์ ลง ย ปัจจัย ถ้าไม่ลง อิ อาคมหน้า ย  ก็ให้แปลง ย กับที่สุดธาตุเป็นอย่างอื่น  (วิธีการเหมือน ย ปัจจัย ในหมวดทิวธาตุ)
    ลพฺภเต (ลภ ย เต) (= ลภิยเต) ย่อมได้     ปจฺจเต (ปจ ย เต) (= ปจิยเต) ย่อมหุง    คยฺหเต (คห ย เต) (= คหิยเต) ย่อมถือเอา
    วุยฺหเต (วุห ย เต) (= วุหิยเต) ย่อมพัดไป

เหตุกัตตุวาจก  ลง เณ ณย ณาเป ณาปย ปัจจัย  (ในหมวด ทิว สุ กี คห ธาตุ ลงปัจจัยประจำหมวดธาตุได้)
ธาตุพยางค์เดียว

  • ธาตุพยางค์เดียว เป็น อา อิ อี  ให้ลง ณาเป ณาปย ปัจจัย  (ห้ามลง เณ ณย) เช่น
    ทาเปติ ทาปยติ (ทา ณาเป-ณาปย ติ) ให้ให้อยู่    ญาเปติ ญาปยติ (ญา ณาเป-ณาปย ติ) ให้รู้อยู่
    ชยาเปติ ชยาปยติ (ชิ ณาเป-ณาปย ติ) ให้ชนะอยู่     สยาเปติ สยาปยติ (สี ณาเป-ณาปย ติ) ให้นอนอยู่
    นยาเปติ นยาปยติ (นี ณาเป-ณาปย ติ) ให้ชนะอยู่    ปติฏฺฐาเปติ ปติฏฺฐาปยติ (ป ฐา ณาเป-ณาปย ติ) ให้ตั้งอยู่
    วิกฺกายาเปติ วิกฺกายาปยติ (วิ กี ณาเป-ณาปย ติ) ให้ขายอยู่
  • ธาตุพยางค์เดียว เป็น อุ อู ให้ลง เณ ณย ปัจจัย  (ห้ามลง ณาเป ณาปย)  เช่น
    สาเวติ สาวยติ (สุ เณ-ณย ติ) ให้ฟังอยู่     ภาเวติ ภาวยติ (ภู เณ-ณย ติ) ให้เป็นอยู่

ธาตุหลายพยางค์

  • ธาตุหลายพยางค์ ให้ลง เณ ณย ณาเป ณาปย ปัจจัย
    ปาเจติ ปาจยติ ปาจาเปติ ปาจาปยติ (ปจ เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้หุงอยู่   
    กาเรติ การยติ การาเปติ การาปยติ (กร เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้ทำอยู่
    ลาเภติ ลาภยติ ลาภาเปติ ลาภาปยติ (ลภ เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้ได้อยู่   
    โภเชติ โภชยติ โภชาเปติ โภชาปยติ (ภุช เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้กินอยู่
  • หมวด จุร ธาตุ ให้ลงเฉพาะ ณาเป ณาปย  (เพื่อไม่ให้ซ้ำกับ เณ ณย ปัจจัยประจำหมวดธาตุ)
    โจราเปติ โจราปยติ (จุร ณาเป-ณาปย ติ) ให้ลักอยู่    จินฺตาเปติ จินฺตาปยติ (จินฺต ณาเป-ณาปย ติ) ให้คิดอยู่
    มนฺตาเปติ มนฺตาปยติ (มนฺต ณาเป-ณาปย ติ) ให้ปรึกษาอยู่    ปาลาเปติ ปาลาปยติ (ปาล ณาเป-ณาปย ติ) ให้รักษาอยู่

การพฤทธิ์
ธาตุพยางค์เดียว

  • ธาตุพยางค์เดียว เป็น อิ อี  พฤทธิ์ อิ อี เป็น เอ  แปลง เอ เป็น อาย  ลง ณาเป ณาปย (ห้ามลง เณ ณย)
    และสามารถรัสสะ อาย เป็น อย ได้ ด้วยอำนาจ ณาเป ณาปย นั่นเอง
    สายาเปติ *สยาเปติ สายาปยติ *สยาปยติ (สี ณาเป ณาปย ติ) ให้นอนอยู่ (* รัสสะ)
    นายาเปติ *นยาเปติ นายาปยติ *นยาปยติ (นี ณาเป ณาปย ติ) ให้นำไปอยู่
    ชายาเปติ *ชยาเปติ ชายาปยติ *ชยาปยติ (ชิ ณาเป ณาปย ติ) ให้ชนะอยู่
  • ธาตุพยางค์เดียว เป็น อุ อู พฤทธิ์ อุ อู เป็น โอ  แปลง โอ เป็น อาว  ลง เณ ณย (ห้ามลง ณาเป ณาปย)
    สาเวติ สาวยติ (สุ เณ ณย ติ) ให้ฟังอยู่    ภาเวติ ภาวยติ (ภู เณ ณย ติ) ให้เป็นอยู่, ให้เจริญอยู่    
  • ธาตุพยางค์เดียว เป็น อา  ลบ อา  ลง ณาเป ณาปย (ห้ามลง เณ ณย)
    ทาเปติ ทาปยติ (ทา ณาเป ณาปย ติ) ให้ให้อยู่    ญาเปติ ญาปยติ (ญา ณาเป ณาปย ติ) ให้รู้อยู่   
    ปติฏฺฐาเปติ ปติฏฺฐาปยติ (ปติ ฐา ณาเป ณาปย ติ) ให้ดำรงอยู่

ธาตุหลายพยางค์

  • ธาตุหลายพยางค์ สระต้นธาตุ เป็น อุ พฤทธิ์ อุ เป็น โอ
    โรเธติ โรธยติ โรธาเปติ โรธาปยติ (รุธ เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้ปิดอยู่
    โมเจติ โมจยติ โมจาเปติ โมจาปยติ (มุจ เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้ปล่อยอยู่
    โภเชติ โภชยติ โภชาเปติ โภชาปยติ (ภุช เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้กินอยู่
  • ธาตุหลายพยางค์ สระต้นธาตุ เป็น อิ พฤทธิ์ อิ เป็น เอ
  • เฉเทติ เฉทยติ เฉทาเปติ เฉทาปยติ (ฉิท เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้ตัดอยู่    
  • เภเทติ เภทยติ เภทาเปติ เภทาปยติ (ภิท เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้ทำลายอยู่
  • ธาตุหลายพยางค์ สระต้นธาตุ เป็น พฤทธิ์ อ เป็น อา
  • กาเรติ การยติ การาเปติ การาปยติ (กร เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้ทำอยู่
  • ลาเภติ ลาภยติ ลาภาเปติ ลาภาปยติ (ลภ เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้ได้อยู่

สระต้นธาตุ เป็นทีฆะ ห้ามพฤทธิ์

  • ธาตุหมวด ทิว ธาตุ ถ้าลง ย ปัจจัยประจำหมวด แล้วแปลง ย กับพยัญชนะที่สุดธาตุ กลายเป็นสังโยค ห้ามพฤทธิ์
    พุชฺฌาเปติ พุชฺฌาปยติ (พุธ ย ณาเป ณาปย ติ) ให้รู้อยู่
  • คห ธาตุ ที่ลง ณฺหา ปัจจัยประจำหมวด  ไม่พฤทธิ์ อ เป็น อา เพราะมีพยัญชนะสังโยค
    คณฺเหติ คณฺหยติ คณฺหาเปติ คณฺหาปยติ (คห เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้ถือเอาอยู่  (ใช้ ณาเป ณาปย โดยมาก)
    คาเหติ คาหยติ คาหาเปติ คาหาปยติ (คห เณ-ณย-ณาเป-ณาปย ติ) ให้ถือเอาอยู่
  • ธาตุบางตัว เช่น กถ คณ หร ฆฏ ชน สมุ ฯลฯ ลงปัจจัยเนื่องด้วย ณฺ แล้ว ไม่พฤทธิ์ เช่น
    ฆฏาเปติ ฆฏาปยติ (ฆฏ ณาเป ณาปย ติ) ให้กระทบอยู่    คณาเปติ คณาปยติ (คณ ณาเป ณาปย ติ) ให้นับอยู่
    (ฆฏ คณ อยู่ในหมวด จุร ธาตุ  จึงลงเฉพาะ ณาเป ณาปย)
    ชเนติ ชนยติ (ชน เณ ณย ติ) ให้เกิดอยู่    สเมติ สมยติ (สมุ เณ ณย ติ) ให้สงบอยู่
    อาหราเปสิ (อา หร ณาเป ส อิ) ให้นำไปแล้ว    กถาเปสิ (กถ ณาเป ส อิ) ให้กล่าวแล้ว

เหตุกัมมวาจก  ลง เณ ณย ณาเป ณาปย และลง ย ปัจจัย กับ อิ อาคม ด้วย

ภาวิยเต ภาวยิยเต (ภู เณ-ณย อิ ย เต)  (อันเขา) ให้เป็นอยู่
ปาจิยเต ปาจยิยเต ปาจาปิยเต ปาจาปยิยเต (ปจ เณ-ณย-ณาเป-ณาปย อิ ย เต) (อันเขา) ให้หุงอยู่
การิยเต การยิยเต การาปิยเต การาปยิยเต (กร เณ-ณย-ณาเป-ณาปย อิ ย เต) (อันเขา) ให้ทำอยู่

ภาววาจก   ใช้อกัมมธาตุอย่างเดียว
ลง ย ปัจจัย และลงวิภัตติ ฝ่ายอัตตโนบท ปฐมบุรุษ เอกวจนะ เท่านั้น (เช่น เต เป็นต้น)  แปลงรูปได้เหมือนในหมวดทิวธาตุและกัมมวาจก  (ส่วนกัตตาตติยาวิภัตติ เป็น เอกวจนะหรือ พหุวจนะก็ได้)

คมยเต (คมุ ย เต) ย่อมไป    ภูยเต (ภู ย เต) ย่อมมี, เป็น    คมฺมเต (คมุ ย เต)  ย่อมไป
สียเต (สี ย เต) ย่อมนอน    สกฺกเต (สก ย เต)  ย่อมอาจ    อุปฺปชฺชเต (อุ ปท ย เต) ย่อมเกิดขึ้น
นิสชฺชเต (นิ สท ย เต) ย่อมนั่ง
 

อาคม

อาคม สำหรับลงหน้าธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติในหมวด หิยัตตนี อัชชัตตนี กาลาติปัตติ
อิ
อาคม สำหรับลงท้ายธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติในหมวด ปโรกขา อัชชัตตนี ภวิสสันติ กาลาติปัตติ
สฺ
อาคม สำหรับลงท้ายธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติในหมวด อัชชัตตนี
หฺ
อาคม  สำหรับลงท้าย ฐา* ธาตุ (ยืน, ตั้ง) ที่มีอุปสัคอยู่หน้า  (เช่น ปติ-ฐา เป็น ปติฏฺฐา  ลง หฺ อาคม เป็น ปติฏฺฐห)
นิคคหิตอาคม สำหรับลงหน้าพยัญชนะที่สุดธาตุ ในหมวด รุธ ธาตุ

* ถ้าไม่ลงอุปสัค แปลง ฐา เป็น ติฏฺฐ ได้)

ปัจจัยพิเศษ

ข ฉ ส ปัจจัย เมื่อลงท้าย ภุช ฆส หร สุ ปา ธาตุ ได้ความหมายพิเศษขึ้นว่าปรารถนาจะ” เช่น

  • พุภุกฺขติ (ภุช-ข-ติ) ย่อมปรารถนาจะกิน, อยากกิน, หิว   ภุช ‘กิน’    ชิคจฺฉติ (ฆส-ฉ-ติ) ย่อมปรารถนาจะกิน, อยากกิน, หิว   ฆส ‘กิน’
    ชิคึสติ (หร-ส-ติ) ย่อมปรารถนาจะนำไป, อยากนำไป   หร ‘นำไป’     สุสฺสูสติ (สุ-ส-ติ) ย่อมปรารถนาจะฟัง, อยากฟัง   สุ ‘ฟัง’
    ปิวาสติ (ปา-ส-ติ) ย่อมปรารถนาจะดื่ม, อยากดื่ม   ปา ‘ดื่ม’
  • ถ้าลงหลังธาตุอื่นๆ  ปัจจัยเหล่านี้ไม่มีความหมายพิเศษอะไร  เช่น
    ติกิจฺฉติ (กิต-ฉ-ติ) ย่อมเยียวยา   กิต ‘รักษา เยียวยา’   วิจิกิจฺฉติ (วิ-กิต-ฉ-ติ) ย่อมสงสัย   กิต ‘รักษา เยียวยา, สงสัย’
    ติติกฺขติ (ติช-ข-ติ) ย่อมอดทน   ติช ‘อดทน’

อาย อิย ปัจจัย สำหรับลงท้ายนามศัพท์ เพื่อทำให้เป็นกิริยาศัพท์  ได้ความหมายพิเศษขึ้นว่า ประพฤติเช่น

  • ถ้าลงหลังคุณนาม แปลว่า ประพฤติ  เช่น  จิรายติ ประพฤติช้าอยู่   จิร ‘ช้า นาน’
  • ถ้าลงหลังนามนาม แปลว่า ประพฤติ(ให้เป็น)เพียงดัง เป็นต้น  เช่น
    ปุตฺติยติ ย่อมประพฤติ(ให้เป็น)เพียงดังบุตร  ปุตฺโต ‘บุตร’    
    ปพฺพตายติ ย่อมประพฤติเพียงดังภูเขา  ปพฺพโต ‘ภูเขา’
    ธูมายติ ย่อมประพฤติเพียงดังควัน  ธูโม ‘ควัน’  
    นิทฺทายติ ย่อมประพฤติหลับ  นิทฺทา ‘ความหลับ’  (หรือ เป็น นิ บทหน้า ทา ธาตุ ในความหลับ ย ปัจจัย ก็ได้)

 

วาจก

วาจก แปลว่า ผู้บอก กล่าว แสดง (วจ ‘บอก กล่าว’)
วาจก หมายถึง *กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัย ซึ่งแสดงให้ทราบว่า ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นประธานในประโยค

วาจกมี 5 คือ
กัตตุวาจก กิริยาศัพท์ที่แสดงว่า ผู้ทำ เป็นประธาน
กัมมวาจก กิริยาศัพท์ที่แสดงว่า ผู้ถูกกระทำ เป็นประธาน
เหตุกัตตุวาจก กิริยาศัพท์ที่แสดงว่า ผู้ใช้ให้ทำ เป็นประธาน
เหตุกัมมวาจก
  ในกิริยาสกัมมธาตุ หมายถึง กิริยาศัพท์ที่แสดงว่า สิ่งที่เขาใช้ให้บุคคลทำ หรือ ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ เป็นประธาน
  ในกิริยาอกัมมธาตุ หมายถึง กิริยาศัพท์ที่แสดงว่า ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ เป็นประธาน
ภาววาจก กิริยาศัพท์ที่บอกเพียงความมีความเป็น ไม่มีประธาน

ประธาน หมายถึง ศัพท์นามที่ถูกยกให้เป็นใหญ่ในประโยค ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ
กัตตา หมายถึง ผู้ทำกิริยานั้นๆ มีทั้งกัตตาที่เป็นประธาน และกัตตาที่ไม่ได้เป็นประธาน ในประโยค
สยกัตตา (ปฐมา) หมายถึง ผู้ทำเอง เป็นประธาน (สยํ-กร)
อนภิหิตกัตตา (ตติยา) หมายถึง ผู้ทำ ที่ไม่ได้ถูกกล่าวยกให้เป็นประธาน (น-อภิ-ธา ‘กล่าว’ แปลง ธ เป็น ห)
เหตุกัตตา (ปฐมา) หมายถึง ผู้ใช้ให้ผู้อื่นทำ หรือ ผู้ทำ โดยใช้ให้ผู้อื่นทำ หรือ ผู้ทำ ที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นทำ  เป็นประธาน

กรรม หมายถึง ผู้ถูกกระทำ มีทั้งกรรมที่เป็นประธาน และกรรมที่ไม่ได้เป็นประธาน
อวุตตกัมม (ทุติยา) หมายถึง ผู้ถูกกระทำ ที่ไม่ได้ถูกกล่าวยกให้เป็นประธาน
วุตตกัมม
(ปฐมา) (น-วจ ‘กล่าว’)

  • ในประโยคกัมมวาจก หมายถึง ผู้ถูกกระทำ ที่ถูกกล่าวยกให้เป็นประธาน
  • ในประโยคเหตุกัมมวาจก กิริยาสกัมมธาตุ หมายถึง สิ่งที่เขาใช้ให้บุคคลทำ หรือ ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ เป็นประธาน
  • ในประโยคเหตุกัมมวาจก กิริยาอกัมมธาตุ หมายถึง ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ เป็นประธาน

3. การิตกัมม (ปฐมา) หมายถึง ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ (เป็นตติยาวิภัตติบ้างก็ได้)

วาจกใดใช้ธาตุประเภทไหนได้
• กัตตุวาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก ใช้ได้ทั้ง สกัมมธาตุ และ อกัมมธาตุ
• กัมมวาจก ใช้ได้เฉพาะ สกัมมธาตุ อย่างเดียว
• ภาววาจก ใช้ได้เฉพาะ อกัมมธาตุ อย่างเดียว

ธาตุประเภทไหนใช้เป็นวาจกอะไรบ้าง
• สกัมมธาตุเป็นได้ 4 วาจก คือ กัตตุวาจก กัมมวาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก (เว้นภาววาจก)
• อกัมมธาตุเป็นได้ 4 วาจก คือ กัตตุวาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก ภาววาจก (เว้นกัมมวาจก)

* อีกนัยหนึ่ง วาจก หมายถึง กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยซึ่ง กล่าวบทที่เป็นประธานของประโยค ว่าสัมพันธ์กับกิริยาอย่างไร เช่น
กัตตุวาจก ประธานเป็นผู้ทำกิริยา, เหตุกัตตุวาจก ประธานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นทำกิริยา กัมมวาจก ประธานเป็นกรรมของกิริยา,
ภาววาจก ประธานคือ ความมีความเป็น ได้แก่ตัวกิริยาเอง, เหตุกัมมวาจก ประธานเป็นกรรมของกิริยา ที่มีผู้อื่นใช้ให้ทำ

 

ปัจจัยอาขยาตนอกแบบ

ธาตุ ปัจจัย กิริยา   คำแปล ในไวยากรณ์ใหญ่
ชุต อล โชตลติ = โชตติ โชเตติ รุ่งเรือง  
ตร อาร สนฺตารติ = สนฺตรติ ข้ามด้วยดี  
กม อาล อุปกฺกมาลติ = อุปกฺกมติ ก้าวเข้าไป  
รุธ อิ อี รุนฺธิติ รุนฺธีติ = รุนฺเธติ รุนฺธยติ ปิด, กั้น ปัจจัยนี้จัดอยู่ในหมวด รุธ ธาตุ
อป อุณา ปาปุณาติ   ถึง, บรรลุ ปัจจัยนี้จัดอยู่ในหมวด สุ ธาตุ
คห (แปลงเป็น เฆ) ปฺป เฆปฺปติ = คณฺหาติ ถือเอา ปัจจัยนี้จัดอยู่ในหมวด คห ธาตุ
กร ยิร กยิรา = กเรยฺย พึงทำ ปัจจัยนี้จัดอยู่ในหมวด ตน ธาตุ

 

แจก อส ธาตุ “มี, เป็น”

วตฺตมานา ป.
ม.
อุ.
อตฺถิ 
อสิ
อมฺหิ
อสฺมิ
สนฺติ อตฺถิ
อตฺถ
อมฺห
อสฺม
ปญฺจมี ป.
ม.
อุ.
อตฺถุ
อาหิ
อมฺหิ
สนฺตุ
อตฺถ
อมฺห
สตฺตมี ป.
ม.
อุ.
อสฺส
อสฺส
อสฺสํ
อสฺสุ อสฺสุํ
อสฺสถ
อสฺสาม
  ป.
ม.
อุ.
สิยา
-
สิยํ
สิยุํ
-
-
อชฺชตฺตนี ป.
ม.
อุ.
อาสิ
อาสิ
อาสึ
อาสุํ
อาสิตฺถ
อาสิมฺหา
หิยตฺตนี ป.
ม.
อุ.
-
-
-
-
อาสิตฺถ
-
  1. อตฺถิ นตฺถิ (น-อตฺถิ)  บางมติถือว่าเป็นนิบาตก็มี  เพราะใช้ได้ทั้งเอกวจนะและพหุวจนะ โดยไม่เปลี่ยนรูป
  2. กิริยาอาขยาต อสฺ ธาตุ เหล่านี้  ที่พยัญชนะต้นเป็นสระ นิยมสนธิกับศัพท์อื่นเสมอ  เช่น อาคโตมฺหิ (อาคโต+อมฺหิ)
  3. ศัพท์ว่า สติ ที่ใช้ในประโยคแทรก (ลักขณะ) เป็นกิริยากิตก์  อส ธาตุ  อนฺต ปัจจัย สัตตมีวิภัตติ  แจกอย่างภควนฺตุ  แปลว่า มีอยู่ 
    (‘สติ’ ไม่มีในรูปที่เป็นกิริยาอาขยาต)

ตัวอย่าง

การแปลง อนฺติ เป็น เร

หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา
สนฺโต สปฺปุริสา โลเก 'เทวธมฺมาติ วุจฺจเร.
อหึสกา เย มุนโย    นิจฺจํ กาเยน สํวุตา
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ    ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร.
สมฺพหุลา น ชานนฺติ   สชฺชุกํ น จ คจฺฉเร.