บทสวด ปาฏิเทสนีย์ ๔

บทสวดพระปาฏิโมกข์
บทสวด ปาฎเทสนีย์ ๔

อิเม โข ปะนายัส๎มันโต จัตตาโร ปาฏิเทสะนียา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ.

๑. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา อันตะระฆะรัง ปะวิฏฐายะ หัตถะโต ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา สะหัตถา ปะฏิคคะเหต๎วา
ขาเทยยะ วา ภุญเชยยะ วา , ปะฏิเทเสตัพพัง เตนะ ภิกขุนา “คารัย๎หัง อาวุโส ธัมมัง อาปัชชิง อะสัปปายัง ปาฏิเทสะนียัง , ตัง
ปะฏิเทเสมีติ.

๒. ภิกขู ปะเนวะ กุเลสุ นิมันติตา ภุญชันติ , ตัต๎ระ เจ ภิกขุนี โวสาสะมานะรูปา ฐิตา โหติ “อิธะ สูปัง เทถะ , อิธะ โอทะนัง
เทถาติ , เตหิ ภิกขูหิ สา ภิกขุนี อะปะสาเทตัพพา ” อะปะสักกะ ตาวะ ภะคินิ , ยาวะภิกขู ภุญชันตีติ , เอกัสสะปิ เจ ภิกขุโน
นัปปะฏิภาเสยยะ ตัง ภิกขุนิง อะปะสาเทตุง “อะปะสักกะ ตาวะ ภะคินิ , ยาวะ ภิกขู ภุญชันตีติ , ปะฏิเทเสตัพพัง เตหิ ภิกขูหิ
“คารัย๎หัง อาวุโส ธัมมัง อาปัชชิมหา อะสัปปายัง ปาฏิ เทสะนียัง , ตัง ปะฏิเทเสมาติ.

๓. ยานิ โข ปะนะ ตานิ เสกขะสัมมะตานิ กุลานิ , โย ปะนะ ภิกขุ ตะถารูเปสุ เสกขะสัมมะเตสุ กุเลสุ ปุพเพ อะนิ มันติโต อะคิลาโน
ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา สะหัตถา ปะฏิค คะเหต๎วา ขาเทยยะ วา ภุญเชยยะ วา , ปะฏิเทเสตัพพัง เตนะ ภิกขุนา “คารัย๎หัง อาวุโส
ธัมมัง อาปัชชิง อะสัปปายัง ปาฏิ เทสะนียัง , ตัง ปะฏิเทเสมีติ.

๔. ยานิ โข ปะนะ ตานิ อารัญญะกานิ เสนาสะนานิ สาสังกะสัมมะตานิ สัปปะฏิภะยานิ , โย ปะนะ ภิกขุ ตะถารูเปสุ
เสนาสะเนสุ วิหะรันโต ปุพเพ อัปปะฏิสังวิทิตัง ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา อัชฌาราเม สะหัตถา ปะฏิคคะเหต๎วา อะคิลาโน
ขาเทยยะ วา ภุญเชยยะ วา , ปะฏิเทเสตัพพัง เตนะ ภิกขุนา ” คารัย๎หัง อาวุโส ธัมมัง อาปัชชิง อะสัปปายัง ปาฏิ เทสะนียัง , ตัง
ปะฏิเทเสมีติ.

อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต จัตตาโร ปาฏิเทสะนียา ธัมมา.
ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ทุติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ตะติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ปาฏิเทสะนียา นิฏฐิตา.

คำแปล พระภิกขุปาฏิโมกข์

ปาฏิเสทนียะ

( ปาฏิเสทนียะ ๔)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชื่อปาฏิเทสนียะ ๔ เหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส.

๑. อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน
จากมือของนางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้ว สู่ละแวกบ้านแล้วเคี้ยวก็ดี
ฉันก็ดี อันภิกษุนั้น พึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ
ไม่เป็นสบายควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น”.

๒. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันอยู่ในสกุล ถ้าภิกษุณีมา
ยืนสั่งเสียอยู่ในที่นั้นว่า “จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้
” ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น พึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า “น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย
ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่” ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่กล่าวออกไป
เพื่อจะรุกรานภิกษุณีนั้นว่า “น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย
ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่” อันภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า
“แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบาย
ควรจะแสดงคืนพวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น”.

๓. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อนมิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี
ของฉันก็ดีในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ ด้วยมือของตนแล้ว
เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดีอันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ
ไม่เป็นสบายควรจะแสดงคืนฉันแสดงคืนธรรมนั้น.”

๔. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ
มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน
ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี
ฉันก็ดีอันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ
ไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.”

ท่านทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายชื่อปาฏิเทสนียะ ๔ ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล
ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้น
ท่านทั้งหลายเป็นผู้ บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในข้อเหล่านี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่งข้าพเจ้าทรงความไว้ด้วยอย่างนี้.

ปาฏิเทสะนียะ จบ.